วช. ผนึกกำลัง ม.เกษตรศาสตร์ จัดอบรม “อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการดูแลและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1”

วันที่ 13 มี.ค. 2025
62 Views
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อเรื่อง “อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการดูแลและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ ดร.อัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์ รักษาการที่ปรึกษาด้านระบบวิจัย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้การต้อนรับ และ รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.วีระศักดิ์ ฟุ้งเฟื่อง หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
การอบรมได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการดูแลและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ หัวหน้าโครงการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร ศรีมีชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สพ.ญ.ธัญญธร ยิ้มสู้ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ดร.ณัฐพล ภาณุพินธุ หัวหน้าหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คุณยิ่งลักษณ์ เฟื่องมารยาท พยาบาลอาชีวอนามัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมแพทย์ทหารบก (ฝ่ายสหรัฐฯ), น.สพ.เชาเชฏฐฉ์ภาดา พุฒพิมพ์ ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรองศาสตราจารย์ ดร.วชิรญาณ์ ธงอาสา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.ภวิกา
ลิ้มอุดมพร คณะวิทยาศาสตร์ มก.
การจัดอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานวิจัยที่มีการดูแลและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีตามหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงมีทักษะในการวิเคราะห์ ประเมิน ประยุกต์ใช้ บริหารจัดการ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในองค์กรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การอบรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 256 คน โดยผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้หลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมีทักษะในการค้นหาอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและใช้สัตว์ฯ การประเมินความเสี่ยงการสัมผัสสิ่งคุกคามพร้อมบริหารจัดการและควบคุมอันตรายในในโครงการวิจัยและงานประจำวันที่มีการดูแลและการใช้สัตว์ฯ รวมถึงการป้องกันภูมิแพ้สัตว์ การช็อกจากภูมิแพ้รุนแรง และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่อาจเกิดขึ้นจากการวิจัยในอนาคต ได้ตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่สอดคล้องกับหลักมาตรฐานสากล