วช. ร่วม สอศ. ติดดาว 19 ผลงานเด่นสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ในกิจกรรมบ่มเพาะ Smart Invention & Innovation ภาคเหนือ

  • 10 January 2024
  • Author: PMG
  • Number of views: 506
วช. ร่วม สอศ. ติดดาว 19  ผลงานเด่นสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ในกิจกรรมบ่มเพาะ Smart Invention & Innovation ภาคเหนือ

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีปิดการอบรม พร้อมมอบรางวัลติดดาว 19 ผลงานเด่นอาชีวศึกษาและเกียรติบัตรในกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2567ภาคเหนือ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว.ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรสายอาชีวศึกษาทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิตลอด 3 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2567 อีกทั้งเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นสร้างแรงบันดาลใจที่จะนำพลังของคนอาชีวะไปเพิ่มประสิทธิภาพของงานสิ่งประดิษฐ์ที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศ
สำหรับรางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานและการนำเสนอได้อย่างโดดเด่น จำนวน 19 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่
กลุ่ม 1 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
1.วัสดุเพาะชำชีวภาพ (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคแพร่
2.เครื่องบรรจุน้ำผึ้งแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชน (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคแพร่
3. อุปกรณ์ช่วยพยุงสายพ่นยาในการเกษตร (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์
4. ปุ๋ยขี้วัวอัดแท่ง (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยการอาชีพรัตนประสิทธิ์วิทย์
5. ผลิตภัณฑ์สารชีวภาพจากรากำจัดแมลงศัตรูพืช (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
กลุ่ม 2 ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
6.อุปกรณ์แจ้งเตือนเปลี่ยนผ้าอ้อมผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง
7.ระบบแจ้งเตือนระดับดัชนีความร้อนเพื่อป้องกันการเกิดฮีทสโตรกในผู้สูงวัย (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
8. ผำ คิวบ์ (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยการอีพฝาง
9. รถยนต์ไฟฟ้า kotaka EV สำหรับคนพิการ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
กลุ่ม 3 การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
10. ระบบเครือข่ายเครื่องช่วยเร่งระบายควัน กรณีเหตุอัคคีภัยฉุกเฉิน (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
11. ระบบไฟจราจรอัจฉริยะ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
12. ระบบช่วยวิเคราะห์ผลประกอบการสวนลำไยด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
กลุ่ม 4 ด้านพลังงาน|สิ่งแวดล้อมและ BCG Economy Model
13. ไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย
14. เตาเชื้อเพลิงคู่ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
15. อุปกรณ์ลดอุณหภูมิใต้แผงโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย
กลุ่ม 5 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
16. มูสควีน สเปรดทาขนมปังเนื้อมูสจากเม็ดขนุน (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัย
เทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
17. น้ำพริกสมุนไพรมะเขือมื่นเสริมไฟเบอร์ รสฮังเลลำไย (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง
18. ผลิตภัณฑ์ถ้วยทาร์ตเสริมโปรตีนและเส้นใยจากถั่วเหลืองปลอดกลูเตน (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
19. ลายซิ่นจิวเวอร์รี (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์
ทั้งนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีวศึกษา ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนางานประดิษฐ์ของทีมอาชีวศึกษา พร้อมร่วมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะในครั้งนี้ด้วย สำหรับกิจกรรม “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา: Smart Invention & Innovation ประจำปี 2567” วช. ได้ร่วมกับ สอศ. จัดขึ้นเพื่อร่วมกันวางกลไกและจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรขอสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลก สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ โดยกิจกรรมครั้งต่อไป จะจัดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดอุดรธานี และภาคใต้ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ
Print
Tags: