วช. ร่วมการประชุม Global Research Council (GRC) 2024 และร่วมเสวนาในSession “Scaling Multilateral Engagement Projects Globally: Best Practices for Synergy and Inclusion” ณ สมาพันธรัฐสวิส

วช. ร่วมการประชุม Global Research Council (GRC) 2024 และร่วมเสวนาในSession “Scaling Multilateral Engagement Projects Globally: Best Practices for Synergy and Inclusion” ณ สมาพันธรัฐสวิส

ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในฐานะ Governing Board ของ Global Research Council (GRC) นำคณะนักวิจัยและทีมงาน วช. เข้าร่วมการประชุมประจำปี “Global Research Council (GRC) 2024 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 30 พฤษภาคม 2567 ณ เมืองอินเทอร์ลาเคน สมาพันธรัฐสวิส

สำหรับการประชุมวันแรก ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เป็นการประชุม Side Events โดยมี Prof. Alejandro Adem, Chair of Governing Board เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งในงานวันแรก เป็นการประชุมภายใต้หัวข้อ “Perspectives on Multilateral Engagement)” ประกอบด้วย 3 Session ได้แก่

- Session 1: Harmonizing Transdisciplinary Collaboration and Multilateral Funding for Global Sustainability

- Session 2: Scaling Multilateral Engagement Projects Globally: Best Practices for Synergy and Inclusion

- Session 3: Towards Equity and Solidarity: Fostering Inclusive and Responsible Cooperation in Global Research

พร้อมนี้ ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในฐานะผู้แทนหน่วยงานสภาวิจัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ร่วมนำเสนอใน Panelist ในประเด็น “A focus on regional networks or research councils in ASPAC” ใน Session 2 ร่วมกับ Ms. Ana Vasquez - Cooperation Manager, National Research and Innovation Agency (ANII) จากอุรุกวัย ผู้แทนหน่วยงานสภาวิจัยในภูมิภาคอเมริกา และ Dr. Hassan Alayied - Consultant for HE President at international relationship and G20, King Abdulaziz City for Science and Technology (KACST) จากราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ผู้แทนสภาวิจัยในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

การนำเสนอในหัวข้อข้างต้น ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อเสนอของแต่ละภูมิภาค ในการร่วมสนับสนุนและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภูมิภาคที่จะสร้างความเข้มแข็ง ในบทบาทของหน่วยให้ทุนในแต่ละภูมิภาค โดย ดร. วิภารัตน์ฯ ได้นำเสนอความมุ่งมั่นของ วช. ที่จะส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการทำงานร่วมกันในระดับพหุภาคีและการเข้าร่วมและให้การสนับสนุนความร่วมมือและการแชร์องค์ความรู้ทั่วทั้งภูมิภาคอย่างแข็งขันผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น e-ASIA Joint Research Program,  Southeast Asia – Europe JFS,Belmont Forum และ Boosting Social Sciences and Contribution to Better Lives across the Indo-Pacific program

นอกจากนี้ ศ.ดร. สนอง เอกสิทธิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ.ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ รศ.ดร. ดุสิต อธินุวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้เข้าร่วมการประชุมและแสดงความเห็นใน Plenary discussion เกี่ยวกับความสามารถของหน่วยงานให้ทุนในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงภายในและระหว่างภูมิภาคได้ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีระบบ ความสนใจ และความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกัน รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศโลกเหนือและโลกใต้ พร้อมกันนี้ นางสาวขวัญศิริ วันวิเวก ผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ วช. และนักวิเทศสัมพันธ์ ของ วช. เข้าร่วมการประชุม และเตรียมการประชุมในหัวข้อการเสวนาที่ วช.ร่วมกิจกรรม

สำหรับการจัดประชุม Global Research Council (GRC) 2024 เป็นการจัดงานในครั้งที่ 12 โดยแบ่งการจัดประชุมเป็น 2 ช่วง

-ช่วงแรก ในวันที่ 27 และ 28 พฤษภาคม 2567 เป็นการจัดนำเสนอหัวข้อในรูปแบบ Side Event โดยจะมีหน่วยงานในแต่ละภูมิภาค ร่วมเป็นเจ้าภาพในหัวข้อต่างๆ

-ช่วงที่สอง ในวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2567 จะเป็นการจัดการประชุมหลัก โดยมี Swiss National Science Foundation (SNSF) สมาพันธรัฐสวิส เป็นเจ้าภาพหลัก และ Fonds pour la Science, la Technologie et l'Innovation (FONSTI) สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Côte d'Ivoire) เป็นเจ้าภาพร่วม

Global Research Council (GRC) 2024 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก“การวิจัยที่ยั่งยืน (Sustainable Research)” โดยหน่วยงานเจ้าภาพให้ความสำคัญใน 3 มิติ ได้แก่

1) การวิจัยเกี่ยวกับความยั่งยืน

2) ความยั่งยืนของการวิจัย และ

3) การใช้วิทยาศาสตร์ที่ยั่งยืนเพื่อสังคม

ซึ่งหัวข้อเหล่านี้ได้รับการพัฒนาและผ่านการอภิปรายมาจากการประชุม GRC ทั้ง 5 ภูมิภาค ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา และมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยสนับสนุนทุนวิจัยในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก มากกว่า 60 องค์กร เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia – Pacific) จำนวน 7 ประเทศ 8 องค์กร ภูมิภาคอเมริกา (America) จำนวน 4 ประเทศ 4 องค์กร ภูมิภาคยุโรป (Europe) จำนวน 16 ประเทศ 23 องค์กร ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North Africa) จำนวน 4 ประเทศ 5 องค์กร และภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-SaharanAfrica) จำนวน 8 ประเทศ 10 องค์กร เข้าร่วมการประชุม

ในโอกาสเดียวกันนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม,รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุม Global Research Council (GRC) 2024 ในฐานะหน่วยงานจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมกับ วช. อีกด้วย

Print