งประดิษฐ์ชิ้นที่ 17 ไอโซนาร์ เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา

ผลงาน ไอโซนาร์ เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา

ผู้ประดิษฐ์ นาย สุรพล วภัทราทร
สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง17
เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการ­ทางสายตา เป็นเครื่องบอกเตือน สิ่งกีดขวางในระดับเอวถึงระดับศีรษะได้อย่­างแม่นยำเมื่อใช้ร่วมกับไม้เท้านำทางของผู­้พิการซึ่งใช้ในการตรวจสอบสิ่งกีดขวางระดั­บพื้นล่าง ใช้งานได้ทุกสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกบ้าน รัศมีความครอบคลุม ด้านหน้า 130 ซม. และช่วงไหล่ 80 ซม. สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางได้อย่างมีประสิท­ธิภาพ เครื่องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้การสั่นเมื่อพบสิ่งกีดขวางแทนการใช้เสี­ยงจากหูฟัง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประสาทหูในการฟังเ­สียงสิ่งแวดล้อมได้ตามปกติ อุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายไม่จำเป็นต้องใช้เวลา­ฝึกฝนในการใช้งาน สามารถชาร์จไฟได้ไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ­่อยๆ อุปกรณ์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำเป็นที่ยอมรั­บในกลุ่มผู้พิการทางสายตา
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

1 total views, 1 views today

Wednesday, August 5, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3074)/Comments (0)/
Tags:

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 16 โคมไฟสปาประดับผนัง

16

ผลงาน โคมไฟสปาประดับผนัง

ผู้ประดิษฐ์ นางสาว นฤมล ดีเลิศ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่าโดยนำ­มาทำเป็นของที่ระลึกมีการออกแบบโดยผสมผสาน­แนวความคิดของกลุ่มชาวบ้านในธุรกิจสปา โฮมสเตย์ และที่พักอาศัยรูปแบบอนุรักษ์ความเป็นไทยโ­ดยนำความเชื่อเรื่องการเคารพบูชาแบบวิถีชา­วพุทธ ความเรียบง่ายแบบพื้นบ้านและอารมณ์ไทยผสมผ­สานลงไปในชิ้นงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กล­ุ่มเป้าหมายนำไปใช้เป็นของที่ระลึก ประดับตกแต่งบ้านหรือห้องพระ ประดับตกแต่งในธุรกิจสปา มีความงดงามราคาไม่แพง คุ้มค่า
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 02 561 2445 ต่อ 530

1 total views, 1 views today

Wednesday, August 5, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (3969)/Comments (0)/
Tags:

วช. จัดประชุมการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และงานแสดงสินค้า ประจำปี 2558

วันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง “การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” และงานแสดงสินค้า ประจำปี 2558 ภายใต้หัวข้อ “พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2558 มาตรฐานและจรรยาบรรณกับการพัฒนาการเลี้ยงและใช้สัตว์สู่มาตรฐานสากล” ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ  ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวันที่ 27 กรกฎาคม 2558  

DSC_0018 DSC_0030

เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและใช้สัตว์ในงานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ งานผลิต และบริการสัตว์ฯ และงานสอนได้รับทราบเกี่ยวกับ พ.ร.บ.สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2558 และร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งจรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่อใช้งานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์แห่งชาติว่าด้วยการพัฒนางานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2560 – 2564 ที่จะใช้เป็นหลักในการจัดทำแผนพัฒนาการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบันให้ได้มาตรฐานในอีก 5 ปีข้างหน้า

การประชุมครั้งนี้ วช. ร่วมกับสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย จัดการอบรมวิชาการ เรื่อง “สรีรวิทยา-พยาธิวิทยา” ภายใต้หัวข้อ Animal Model” เพื่อให้นักวิจัย นักวิชาการด้านสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาได้รับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับสรีรวิทยา พยาธิวิทยา นอกจากนี้ ในพิธีเปิดงานยังได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ (รางวัล ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย) ประจำปี 2558 และรางวัลพนักงานเลี้ยงสัตว์ดีเด่น (รางวัลที อี คิว) ประจำปี 2558 ด้วย

ทั้งนี้ ภายในงานได้จัดให้มีการแสดงสินค้าและจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองมาร่วมบรรยายให้ความรู้และจัดกลุ่มสัมมนาย่อย ในระหว่างวันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

DSC_0038_resize_resize DSC_0103_resize_resize DSC_0108_resize_resize

1 total views, 1 views today

Wednesday, July 29, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1387)/Comments (0)/
Tags:

วช. มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง และพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น ประจำปี 2558

วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง (รางวัลไบโอลาสโก้ ประเทศไทย) และพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น (รางวัลที อี คิว) ประจำปี 2558  ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ  ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล

ดร.ปัทมารัตน์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศให้มีจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ และหลักการ 3Rs (Replacement Reduction and Refinement) มาตั้งแต่ปี 2542 และได้ดำเนินการพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานสัตว์ทดลอง โดยเฉพาะนักวิจัยผู้ใช้สัตว์ทดลองและพนักงานผู้เลี้ยงสัตว์ทดลอง เนื่องจากต้องเลือกชนิด/สายพันธุ์สัตว์ สถานที่เลี้ยงสัตว์ วิธีการเลี้ยง และการนำสัตว์มาใช้ทดลองเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์ สภาวิจัยแห่งชาติ และได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้วิจัยมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อสัตว์ ในการนี้ วช. จึงร่วมกับ บริษัท ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย จำกัด จัดให้มีรางวัล ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย (BioLASCO Thailand Award) เพื่อมอบให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง โดยคัดเลือกจากผู้ปฏิบัติการวิจัยที่ใช้สัตว์ทดลองตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ และยึดหลักการ 3Rs อย่างเคร่งครัดตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดงานวิจัย และมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2558 นี้ วช. ได้พิจารณาให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิง พินภัทร  ไตรภัทร แห่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นที่ใช้สัตว์ทดลอง (รางวัล ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย) จากผลงานวิจัย เรื่อง “การศึกษาความปลอดภัยของยาหอมนวโกศซึ่งมีไคร้เครือผสมอยู่ในหนูวิสตาร์” โดยจะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนจากบริษัท ไบโอลาสโก้ ประเทศไทย จำกัด จำนวน 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ

DSC_0041

สำหรับรางวัลพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น รางวัล ที อี คิว (TEQ Award) วช. ร่วมกับ บริษัท ที อี คิว จำกัด  จัดให้มีขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองได้ตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลอง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และเพื่อเชิดชูเกียรติพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลอง ซึ่งในปี 2558 วช. ได้พิจารณาให้นายภักดี  ไข่ลือนาม แห่งศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่น โดยจะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนจากบริษัท ที อี คิว จำกัด จำนวน 30,000 บาท โล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่สังกัดและคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชยให้แก่พนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลองดีเด่นอีก 2 รางวัล ได้แก่ นายอุทัย  ทองบาง แห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายสมจิตร  สุระสา แห่งศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณฯ

DSC_0051 DSC_0054 DSC_0055Wednesday, July 29, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1954)/Comments (0)/

Tags:

วช. จัดเสวนา “วิกฤตภัยแล้งและแนวทางแก้ไข

วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดการเสวนา เรื่อง “วิกฤตภัยแล้งและแนวทางแก้ไข”  ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนา   

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการ วช. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชากรเป็นอย่างมาก ทั้งอุทกภัย แผ่นดินไหว และภัยแล้ง โดยภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของภูมิอากาศ เช่น ปริมาณฝน อุณหภูมิ และความชื้น ดังจะเห็นได้จากสภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ และปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญในตลาดโลก รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาวะการขาดแคลนน้ำอย่างหนักจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนขนาดใหญ่ของไทยลดลง ทำให้ไม่เพียงพอสำหรับการทำนาปลูกข้าวของเกษตรกร ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงพยายามหามาตรการเพื่อบรรเทาภัยแล้งและประหยัดน้ำในช่วงหน้าแล้ง เช่น ลดปริมาณการระบายน้ำจากเขื่อนหลักลง ชะลอการปลูกข้าวนาปีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น

_DSC0016 _DSC0020 _DSC0060 _DSC0069

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิกฤตภัยแล้ง จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดการเสวนาครั้งนี้เพื่อหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งและเป็นเวทีเผยแพร่ความรู้จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤตภัยแล้ง เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งในประเทศไทยต่อไป

63 total views, 63 views today

Wednesday, July 29, 2015/Author: SuperUser Account/Number of views (1468)/Comments (0)/
Tags:
RSS
First 147148149150151152153154155156