กระทรวง อว. โดย วช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการ "การรื้อฟื้นการผลิตกระจกเกรียบและจืนแบบโบราณ เพื่องานบูรณะและอนุรักษ์”

กระทรวง อว. โดย วช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการ "การรื้อฟื้นการผลิตกระจกเกรียบและจืนแบบโบราณ เพื่องานบูรณะและอนุรักษ์”
กระทรวง อว. โดย วช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการ "การรื้อฟื้นการผลิตกระจกเกรียบและจืนแบบโบราณ เพื่องานบูรณะและอนุรักษ์” 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากประสบการณ์และภูมิปัญญาของคนไทยซึ่งเป็นฐานรากที่มั่นคงในการเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยในปี 2559 วช.อว. ได้สนับสนุนการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาแก้วคริสตัลปราศจากตะกั่วและการประดิษฐ์แก้วคริสตัลบาง” ภายใต้แผนงานเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมด้านวัสดุนาโนและนาโนเทคโนโลยี นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กมลพรรณ เพ็งพัด นักวิจัย สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ และปัจจุบันได้พัฒนางานที่เน้น “การประดิษฐ์แก้วคริสตัลบางเพื่อประยุกต์เป็นกระจกโบราณ” ร่วมกับโรงงานการผลิตกระจกโบราณของ นายรชต ชาญเชี่ยว และคณะ เพื่อพัฒนาสูตรกระจกโบราณใหม่ ๆ เป็นกระจกจืนและกระจกเกรียบ จนสามารถนำกระจกจืนและกระจกเกรียบไปบูรณะโบราณสถานและโบราณวัตถุได้หลายแห่ง อีกทั้งยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบประดับกระจกจืนและกระจกเกรียบที่สามารถนำไปใช้งานในการบูรณะโบราณสถานและโบราณวัตถุ และสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้กระจกจืนและกระจกเกรียบตกแต่งเพื่อขยายผลเชิงพาณิชย์ในอนาคต 

ในการนี้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 วช. ได้ถวายสัตภัณฑ์ที่ประดับกระจกจืน ซึ่งเป็นกระจกที่ได้จากงานวิจัย ณ วัดช่างฆ้อง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจาก ศิลปิน “ฝุ่น หอสูง” นายชาญยุทธ โตบัณฑิต ออกแบบและสร้างสัตภัณฑ์ เป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของการนำผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการ ที่สามารถต่อยอดทั้งเชิงพาณิชย์และสามารถนำไปทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อรักษามรดกอันทรงคุณค่าให้คงอยู่เคียงคู่คนไทยสืบไป

Print
Tags: