ผู้บริหาร วช. ร่วมพบปะหารือกับนางแคทเธอรีน เวสต์ รัฐมนตรีด้านกิจการอินโด-แปซิฟิกกระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และการพัฒนา สหราชอาณาจักร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

ผู้บริหาร วช. ร่วมพบปะหารือกับนางแคทเธอรีน เวสต์ รัฐมนตรีด้านกิจการอินโด-แปซิฟิกกระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และการพัฒนา สหราชอาณาจักร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2  นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย และนางสาวขวัญศิริ ชนยุทธ ผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมต้อนรับและพบปะหารือกับนางแคทเธอรีน เวสต์ รัฐมนตรีด้านกิจการอินโด-แปซิฟิกกระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และการพัฒนา สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานในสังกัด อาทิ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ บพค. รศ.ดร. ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. เข้าร่วมการหารืออย่างไม่เป็นทางการดังกล่าว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ จัดโดย British Council Thailand

 

การประชุมระดับทวิภาคีดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อต้อนรับการมาเยือนประเทศไทยของนางแคทเธอรีนฯ และแสดงถึงความยินดีของสหราชอาณาจักรที่มีต่อหน่วยงานที่สนับสนุนงานวิจัย วิทยาศาสตร์ และนักวิจัยของประเทศไทยที่ได้ดำเนินความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมกัน ประกอบด้วย สป.อว. วช. บพค. และ บพข. ภายใต้กองทุน International Science Partnership Fund หรือ กองทุน ISPF โดย น.ส.ศิรินทร์พรฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย ได้นำเสนอบทบาทหน้าที่ของ วช. และการดำเนินงานของ วช. ภายใต้กองทุนดังกล่าว จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ Grants for International Research Collaboration และ โครงการ International Research Empowerment Programme หรือ IREP

 

นางแคทเธอรีนฯ กล่าวแสดงความยินดีในวาระครบรอบ 170 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรในปี 2568 ที่มีความเข้มแข็งมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความร่วมมือด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ซึ่งสะท้อนได้จากปริมาณนักเรียนไทยที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จในเวทีนานาชาติภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานการศึกษาของสหราชอาณาจักร  จึงเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่หน่วยงานวิจัยในไทย ภายใต้กระทรวง อว. ให้การสนับสนุนความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย ภายใต้กองทุน ISPF และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานของไทยจะตอบรับและให้ความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในอนาคตต่อไป

Print
Tags: