“รมว.อว.” ชูวิสัยทัศน์ “เรียนดี มีความสุข มีรายได้” และ “วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” ริเริ่ม 12 แนวทาง ขับเคลื่อน อว. สู่กระทรวงเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดย วช. ร่วมนำเสนอผลงานเด

“รมว.อว.” ชูวิสัยทัศน์ “เรียนดี มีความสุข มีรายได้” และ “วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” ริเริ่ม 12 แนวทาง ขับเคลื่อน อว. สู่กระทรวงเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดย วช. ร่วมนำเสนอผลงานเด














เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แถลงผลงานที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยนำเสนอผลงานในรูปแบบที่แปลกใหม่และน่าสนใจ เรียกได้ว่าเป็น "นวัตกรรมแห่งการนำเสนอ"

โดยถ่ายทอดผลงานผ่านละครเวทีสร้างสรรค์ ภายใต้ชื่อ "เชื่อมต่ออนาคตไทย สู่ปีแห่งความสำเร็จกับกระทรวง อว." ซึ่งแสดงให้เห็นผลงานของกระทรวง อว. ที่สามารถเข้าถึงประชาชน สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกระทรวง อว. หัวหน้าหน่วยงาน และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค

นางสาวศุภมาส กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ตนได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ได้วางนโยบายหลักด้านการอุดมศึกษา "เรียนดี มีความสุข มีรายได้" มุ่งเป้าหมายการลดภาระของนักศึกษา ผู้ปกครอง และอาจารย์ผู้สอน สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำนโยบาย "วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ" โดยให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและภาครัฐทำหน้าที่สนับสนุน โดยได้ผลักดันโครงการสำคัญที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น โครงการ "อว. for EV” สร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้แข็งแกร่ง พร้อมขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศให้เปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้มากที่สุด โครงการ "อว. for AI" ตั้งเป้าหมายให้นิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศมีความรู้พื้นฐานด้าน AI ภายในชั้นปีที่ 2 นอกจากนี้ยังมีนโยบาย "อว. for Ignite Thailand" ที่จะผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น เชมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า และ AI โดยจัดตั้ง 5 หลักสูตรแซนด์บ็อกข์เพื่อสร้าง “New Growth Engine" ในประเทศ
ด้านการปฏิรูปอุดมศึกษา กระทรวง อว. มุ่งเน้นแนวคิด "2 ลด 2 เพิ่ม" คือ ลดภาระ-ลดเหลือมล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส เพื่อให้การศึกษาเข้าถึงได้และมีคุณภาพ ผ่านมาตรการ Free TCAS และ Free TGAT ที่สำคัญ อว. ได้พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ผ่านระบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และนำมาเทียบโอนเพื่อสำเร็จการศึกษา รวมไปถึง Skill Mapping (แผนที่ทักษะ) Skill Transcript (บันทึกทักษะ) และ Coop+ (สหกิจศึกษาพลัส) ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาและประชาชนสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต
อีกทั้ง กระทรวง อว. ยังให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และสร้างความตระหนักด้านการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีในสังคมวงกว้าง ผ่านการจัดกิจกรรม "อว.แฟร์ Sci Power for Future Thailand" ทั้งในกรุงเทพฯ และ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสและเรียนรู้กับนวัตกรรมแห่งอนาคต และงาน "One Stop Open House 2024" ที่รวมสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศไว้ในที่เดียว เพื่อให้ข้อมูลการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนและผู้ปกครอง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการเข้าศึกษาต่อ โดยทั้งสองงานนี้ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากนิสิต นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปอย่างมาก
นอกจากนี้ วช. ภายใต้การนำของ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้แถลงผลงานสำคัญภายใต้หัวข้อ “ชุมชนยั่งยืนเพื่อก้าวสู่อนาคต: การพัฒนาพื้นที่และชุมชน” ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนผ่านโครงการสำคัญ เช่น ศูนย์เกษตรวิถีเมือง ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเกษตรในเขตเมือง และศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ วช. ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวง อว. เพื่อผลักดันการวิจัยและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
สำหรับปีต่อไป กระทรวง อว. จะสานต่อนโยบายเดิมให้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยมี 12 เรื่องที่จะทำทั้งในด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ ววน. ได้แก่ 1) ปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาก้าวสู่การเป็น AI University รองรับยุค Education 6.0 ด้วยการนำ AI และ Metaverse มาช่วยในการเรียนการสอนแบบ Immersive Education 2) เพิ่มโอกาสในการเข้าทำงานของบัณฑิตจบใหม่ จัดให้มีการรวมผู้ประกอบการมาพบกับบัณฑิตในงาน Job Fair ภายในต้นปีหน้า 3) เพิ่มประสิทธิภาพของกำลังคนตามความต้องการของตลาดอุตสาหกรรม 4) เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการ 5) สนับสนุนให้มีโรงเรียนสาธิตอินเตอร์ในสาธิตที่มีความพร้อม 6) ผลักดันกฎหมายจัดตั้งกองทุนเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม 7) ผลักดันไทยให้เป็น Education Hub 😎 ใช้ ววน. เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ สนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่และผลักดันวาระสำคัญเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศ 9) นำ ววน. ไปช่วยตอบโจทย์สำคัญของประเทศ อาทิ น้ำแล้ง ภัยพิบัติ PM2.5 ความมั่นคงด้านพลังงาน เป็นต้น 10) นำอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ไปสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและผู้ประกอบการ SMEs Startup ในท้องถิ่น 11) สนับสนุนเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าของประเทศ (Frontier Technology) และ 12) ปฏิรูประบบ ววน. อย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน ววน. การปรับระบบหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตามและประเมินผล การจัดทำแผนด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น
"ตนเชื่อว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือรากฐานสำคัญที่จะนำพาประเทศไทศไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการทำให้ อว. เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศผ่านการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ สร้างความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป” นางสาวศุภมาส กล่าว


Print