วช.นำเสนอประเด็นผลักดันงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน ภายในงานการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 3 (The 3rd General Assembly) ของสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council: IS

วช.นำเสนอประเด็นผลักดันงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน ภายในงานการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 3 (The 3rd General Assembly) ของสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council: IS



























วันที่ 26 มกราคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะผู้บริหาร วช. พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เข้าร่วมประชุม Pre-event workshop

ในวันแรกของการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 3 (The 3rd General Assembly) ของสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council: ISC) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มกราคม 2568 ณ Oman Convention & Exhibition Centre กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ ศาสตราจารย์ พล.ต.ต.หญิง พัชรา สินลอยมา ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ วช. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในประเด็นการส่งเสริมสาขาด้านสังคมศาสตร์และโอกาสในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมทั้งตัวอย่างงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช.
ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบจากความท้าทายของโลกที่สำคัญ (Mega trends) หลายประการ ซึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสาขาสังคมศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการทำความเข้าใจและจัดการกับปัญหาความท้าทาย โดย วช. ได้มีการสร้างระบบนิเวศเพื่อการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ที่สำคัญ คืหอ การพัฒนาบุคลากรวิจัย การกำหนดประเด็นวิจัยที่สำคัญในระดับประเทศและระดับนานาชาติ การให้ทุนวิจัยพื้นฐานด้านสังคมศาสตร์ และการขับเคลื่อนงานวิชาการและงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ พร้อมนี้ ศาสตราจารย์ พล.ต.ต.หญิง พัชรา สินลอยมา ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ วช. ได้นำเสนอตัวอย่างการบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ อาทิ แอปพลิเคชัน 3-B Jobs เพื่อใช้เป็นสื่อกลางการสร้างโอกาสทางอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก วช.
นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานด้านสังคมศาสตร์อีก 4 ท่านจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ร่วมนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของสังคมศาสตร์ในการพัฒนาที่ยั่งยืนและความร่วมมือระหว่างประเทศ ดังนี้
-Prof. Pablo Vommaro- Academic Secretary and Research Director, Latin American Council of Social Sciences (CLACSO) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบเปิดและมีส่วนร่วม โดย CLACSO ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการสนทนาทางสังคม (Social Dialogue) ที่เชื่อมโยงนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และผู้กำหนดนโยบายเข้าด้วยกัน เพื่อจัดการกับปัญหาสำคัญในภูมิภาคลาตินอเมริกา เช่น ความเหลื่อมล้ำและความยากจน การย้ายถิ่นฐาน สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
Dr. Moushira Elgeziri - Associate Director, Arab Council for the Social Sciences (ACSS) ได้กล่าวถึงความท้าทายของสาขาสังคมศาสตร์ในภูมิภาคอาหรับ รวมถึงการถูกลดความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ และแนวโน้มปัจจุบันที่มุ่งเน้นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานความรู้มากขึ้น โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรับฟังชุมชนทางวิชาการในภูมิภาคและการสนับสนุนนักสังคมศาสตร์รุ่นใหม่
Assoc. Prof. Francis Akena - Vice President, Society for the Advancement of Science in Africa (SASA) ได้กล่าวถึงอุปสรรคต่างๆ ที่สาขาสังคมศาสตร์ในภูมิภาคแอฟริกากำลังเผชิญ เช่น การเน้นให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์กายภาพ ข้อจำกัดด้านนโยบาย และการขาดแคลนทุนวิจัย พร้อมทั้งเสนอแนะบทบาทของ ISC ในการสนับสนุนนักวิจัยในแอฟริกา
Dr. Dhananjay Singh – Member Secretary, Indian Council of Social Science Research (ICSSR) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปรับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น การบูรณาการระหว่างสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึงความสำคัญของการศึกษาชุมชนพื้นเมือง ความเท่าเทียมทางเพศ และการแปลงงานวิจัยไปสู่นโยบาย
ในช่วงท้าย ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการจัดการกับอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของสังคมศาสตร์ การสร้างคุณค่า และการมีส่วนร่วมระหว่าง ISC และสมาชิกเพื่อนำไปพัฒนาโครงการสนับสนุนด้านสังคมศาสตร์ของ ISC ต่อไป
Print
Tags: