วช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)

  • 5 September 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 397
วช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)
วช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย (ผู้จัด) มหาวิทยาลัยนครพนม จัดโครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยนครพนม รุ่นที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมฟอร์จูน วิวโขง จังหวัดนครพนม โดยมี นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ รวมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา มิขะมา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการฯ และกล่าวรายงาน

นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยนครพนม ในการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 จนถึงปัจจุบัน โครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ในครั้งนี้ถือเป็นรุ่นที่ 3 โดยการฝึกอบรมฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้สามารถสร้างงานวิจัยที่จะตอบโจทย์ความต้องการและแก้ไขปัญหาชุมชนในพื้นที่ของตนเอง และเพิ่มความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานในพิธีปิดโครงการฝึกอบรมฯ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ วช. 3 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี, รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, และ ดร.จินตนาภา โสภณ และร่วมแสดงความยินดีกับผู้ผ่านการฝึกอบรม พร้อมทั้งมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมทั้ง 51 คน ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของตนเองด้านการวิจัย สะท้อนจากมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันตลอดหลักสูตรการฝึกอบรม และการร่วมกันจัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การแพทย์และสุขภาพ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม และด้านการท่องเที่ยว เกษตร และอาหารที่เกี่ยวข้องกับ BCG เพื่อแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นของตนเองและระดับประเทศต่อไป
Print
Tags: