วช. ร่วมกับศูนย์วิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุม เสวนา “The secret of mutation breeding for ornamental plants”

  • 4 December 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 294
วช. ร่วมกับศูนย์วิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุม เสวนา “The secret of mutation breeding for ornamental plants”
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 ร่วมเป็นเกียรติ กล่าวเปิดงานในการประชุมเสวนา ร่วมกับ รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเสวนาเรื่อง “The secret of mutation breeding for ornamental plants เส้นทางการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ” ภายใต้โครงการวิจัย การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ : การปรับปรุงพันธุ์โดยการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมาจาก ต้นกำเนิดรังสีใหม่ ซีเซียม-137 ซึ่งได้รับงบประมาณอุดหนุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี งบประมาณ 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เกษตรกรและผู้ประกอบการที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
โดยจุดมุ่งหมายของการเสวนาครั้งนี้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์ให้แก่สังคมและชุมชน ผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Geen Economy) BCG คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดยใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า และบริการให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งภายในงานเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้จากทีมนักวิจัยและผู้ประกอบการ นำทีมโดย รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ ที่ปรึกษาโครงการวิจัย รศ.ดร.พีรนุช จอมพุก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.ดร.นุชรัฐ บาลลา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ จันจุฬา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้สถานการณ์การตลาดไม้ประดับ การใช้รังสี ในการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ในไม้ดอกไม้ประดับและประโยชน์ที่ได้รับ การคัดเลือกพันธุ์กลาย อนาคตการตลาดไม้ดอกไม้ประดับในมุมมองของผู้ประกอบการ เกษตรกรและนักวิจัย ตลอดจนตลาดในประเทศ และต่างประเทศ
Print
Tags: