วช. ร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มก. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ “ICMARI 2

  • 15 December 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 227
วช. ร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มก. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ “ICMARI 2

วันที่ 14 ธันวาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 5th International Conference on Materials Research and Innovation 2023 (5th ICMARI 2023) ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์ เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, การยางแห่งประเทศไทย และสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง ระหว่างวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ โดยมี รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.ดร.อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.ปารเมศ กําแหงฤทธิรงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางฯ และหัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้ด้วย
งานประชุมวิชาการนานาชาติ ICMARI 2023 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์ให้แก่นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บริษัท องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งและความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจและมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 คน จากหลายภาคส่วน อาทิ รศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ประเทศไทย), Prof. Sadhan C. Jana จาก University of Akron (สหรัฐอเมริกา), Prof. Rose-Noelle Vannier จาก Université de Lille (France), Prof. Hongbo Zeng จาก University of Alberta (Canada), Prof. Hisashi Okumura จาก National Institutes of Natural Sciences (Japan) ตลอดจนนิสิตนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ผู้ประกอบการจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส โปแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน มาเลเซีย และไทย
โดยภายในงานมีการจัดงานประชุมนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ใน 5 หัวเรื่อง ได้แก่
1) Rubbers and Polymeric Materials
2) Bio- and Circular- Materials
3) Special Advanced Materials
4) Materials of Energy and Environmental Applications
5) Computational Model and Simulations
นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ คือ Materials Research และ Materials Innovation โดยมีการมอบรางวัลผลงานโปสเตอร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ประเภท Materials Research
• รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง คือ นางสาวอภิสรา ศิลปสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหิดล
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง นางสาวพจมาน ชัยอำนวยพร มหาวิทยาลัยมหิดล
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง นางสาวธวัลรัตน์ ไชยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ประเภท Materials Innovation
• รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง คือ ผศ.ดร.สราวุธ ประเสริฐศรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง นางสาวอนุธิดา สุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง คือ นางสาวอริยา จุลบุตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากการจัดประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษาและนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อวงการวิชาการเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาการและเทคโนโลยีของวัสดุศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้และในที่สุดก็จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันต่อไป จัดเป็นการสนับสนุนนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศต่อไปในอีก 20 ปีข้างหน้าอีกด้วย
Print
Tags: