วช. ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำงานวิจัยและนวัตกรรมยกระดับศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

  • 17 February 2020
  • Author: Admin4
  • Number of views: 2317

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ รศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มอบป้ายสัญลักษณ์ ”ศูนย์วิจัยชุมชน” แก่กลุ่มวิสาหกิจและชุมชนที่นำงานวิจัยและนวัตกรรมที่วช.ให้การสนับสนุน ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ ซึ่งพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมอบให้แก่ “ศูนย์วิจัยชุมชนเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้าไหมมัดหมี่ จ.ขอนแก่น” และ”ศูนย์วิจัยชุมชนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อีสาน จ.ร้อยเอ็ด”



“ศูนย์วิจัยชุมชนเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้าไหมมัดหมี่ บ้านหนองบัวน้อย อ.พล จ.ขอนแก่น” ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมยกระดับผ้าไหมมัดหมี่ ให้มีอัตลักษณ์ด้วยการผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดลายผ้าไหมที่สื่อถึงวัฒนธรรมชาวอีสาน เพื่อส่งเสริมและสร้างช่องทางการตลาด ทำให้เพิ่มรายให้แก่ชุมชนมากกว่าเดิม 1-2 เท่า องค์ความรู้เป็นผลงานวิจัยจากโครงการเรื่อง “การพัฒนาลวดลายผ้าไหมทอมือสำหรับการซักด้วยเครื่อง กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง“ โดย ผศ.ดร.ชนัษฎา จุลลัษเฐียร และ ผศ.ดร.ดลฤทัย โกวรรธนะกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

“ศูนย์วิจัยชุมชนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อีสาน ต.หนองพอก อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด” ได้นำองค์ความรู้จากการวิจัยในการจัดการความรู้ด้าน Smart Farming เพื่อผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ มาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อีสานเป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรเครือข่ายเพื่อทำการเกษตรปลอดสารพิษ โดยปัจจุบันมีเครือข่ายจำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครพนมและชัยภูมิ โดยนายถวิล คงศรีรอด ประธานสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ร้อยเอ็ด ร่วมขยายผลโดยนำผลผลิตของกลุ่ม ได้แก่ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 105 ข้าวพันธุ์พื้นบ้านและข้าวสีต่างๆ มาเข้ากระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ และร่วมจัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยชุมชนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อีสาน องค์ความรู้จากการวิจัยมาจาก โครงการ ”การจัดการความรู้ด้าน smart farming ของการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อีสาน” โดย ผศ.ดร.กิริยา สังข์ทองวิเศษ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Print
Tags: