วช. - วว. ร่วมกับภาคีเครือข่าย Kick off โครงการพัฒนาต้นแบบจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

วช. - วว. ร่วมกับภาคีเครือข่าย Kick off โครงการพัฒนาต้นแบบจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี และหน่วยงานภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุน

“โครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมืองเชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” พื้นที่เป้าหมาย : อำเภอเมืองจังหวัดสระบุรี” พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการดังกล่าว โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวสุภาพรรณ โทขัน ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก วช. กล่าวแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยโครงการฯ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวเปิด Kick off โครงการฯ นางสาวกาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี ในฐานะผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน วันที่ 20 สิงหาคม 2567 ณ อาคารรวมใจ

อ.เมือง จังหวัดสระบุรี
นางสาวสุภาพรรณ โทขัน ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ได้กล่าวถึง แนวทางการ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก และร่วมกันขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) ด้านการจัดการการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน และเกิดการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนให้บรรลุผลครอบคลุมทุกด้าน ภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ เพื่อให้เป็นต้นแบบในการสร้างแรงจูงใจในการจัดการวัสดุที่ต้นทาง รวมถึงสามารถลดปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน สังคม ทาง วว. เป็นหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนด้วยการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขับเคลื่อนตาลเดี่ยวโมเดล ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเพื่อแก้ไขและลดปัญหาขยะชุมชน มุ่งเน้นให้เป็นโครงการต้นแบบเพื่อนำผลงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการขยะชุมชน เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและบรรยายถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ วว. ดังนี้ 1) การคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้และระบบการรวบรวมวัสดุรีไซเคิล โดย ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว. และคณะ 2) การผลิตน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์ โดย คณะทีมงานจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ 3) การผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลและเปลือกผลไม้ โดย คณะทีมงานจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม 4) การผลิตจานรองแก้วจากเศษพลาสติก โดย คณะทีมงานจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการจัดการของเหลือทิ้ง ส่งเสริมการคัดแยกของเหลือทิ้งที่ต้นทาง แนะนำให้ความรู้ในการจัดการของเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์เพิ่มมูลค่าที่มีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน และถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการของเหลือทิ้งให้กับประชาชนอันจะนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
Print