วันที่ 15 - 16 สิงหาคม 2567 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 ให้การต้อนรับ คณาจารย์ และนักเรียนโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ และโรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย เยี่ยมชม และร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ดังนี้
“การเพาะเลี้ยงเห็ดก้อนในครัวเรือน
และการเพาะเลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ยใช้เอง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลือพงษ์ ลือนาม จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,
“BCG โมเดลเศรษฐกิจใหม่ตามวิถีเมือง สู่การปฏิบัติเพื่อสังคมและชุมชน” โดย อาจารย์กัลยา นาคลังกา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร,
“การปลูกผัดสลัดกินเองในครัวเรือน” โดย นายจิรายุ พรหมเทวา จาก วิสาหกิจชุมชน, และ
“การออกแบบพื้นที่กับเกษตรวิถีเมือง” โดย อาจารย์กฤษฎา พลทรัพย์ จาก บริษัท กรีนสเปซ อาคิเทค จำกัด
ให้เกียรติเป็นวิทยากรภายใต้โครงการ "การส่งเสริมความรู้การนำงานวิจัยตามแนวคิด BCG สู่การปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อสังคม"
ศูนย์เกษตรวิถีเมือง วช. เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่การใช้ประโยชน์สำหรับการปลูกพืชในเมือง เพื่อทดลอง รวบรวม และสาธิตการใช้ประโยชน์นวัตกรรมและองค์ความรู้ในการเพาะปลูกพืชอาหาร ภายใต้แนวคิด Adaptive Reuse โดยนำนวัตกรรมจากงานวิจัยมากกว่า 30 เทคโนโลยี มาร่วมพัฒนาให้เกิดการผลิตพืชผักผลไม้ พร้อมนี้ วช. ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้นำวัสดุเหลือใช้จากการผลิต ที่เกิดจากแนวคิด Recycle Upcycle มาใช้เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาพื้นที่ศูนย์เกษตรวิถีเมือง วช. ด้วย อาทิ อิฐบล็อกจากขยะโรงไฟฟ้า ยางมะตอยลาดพื้นถนนจากพลาสติกเหลือใช้ พร้อมกันนี้ วช. ยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ อาทิ นวัตกรรมประหยัดพลังงานด้วยพลังงานลม นวัตกรรมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเหมาะสม เป็นต้น เพื่อเป็นต้นแบบในการปลูกพืชในเมืองให้กับหน่วยงานต่าง ๆ นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป