การแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ครั้งที่ 13

การแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ครั้งที่ 13

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสมาคมส่งเสริมผ้าไหมและวัฒนธรรมไทย แถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ครั้งที่ 13”
วันที่ 23 สิงหาคม 2567 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ครั้งที่ 13” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ณ หอประชุมกองทัพเรือ โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้เข้าร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนการจัดงานดังกล่าว ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสมาคมส่งเสริมผ้าไหมและวัฒนธรรมไทย โดยมีนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวการจัดงาน เอกอัครราชทูตอิตาลี H.E. Paolo Dionisi ดร.สุมาลี อุทัยเฉลิม ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมส่งเสริมผ้าไหมและวัฒนธรรม นายณัฐภัทร สุขิตานนท์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมกิจกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ดร. กฤติญา วังหอม ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี เข้าร่วม ณ ห้องแกลลอรี 5 หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวง อว. ได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน และขับเคลื่อนกิจกรรม มหกรรมผ้าไหมไทย ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานให้กับนิสิต นักศึกษา รวมถึงสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านการออกแบบ การออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั่วประเทศให้ได้มีโอกาสในการออกแบบและตัดเย็บชุดผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ให้แก่คณะเอกอัครราชทูตและคู่สมรส กงสุลและกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย รวมถึงคณะรัฐมนตรี
ซึ่งนิสิต นักศึกษา จะได้เรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจน เอกลักษณ์ และแนวทางการออกแบบเสื้อผ้าในลักษณะร่วมสมัย โดยใช้ผ้าไหมในการตัดเย็บ โดยในปีนี้มีสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย ในสังกัดกระทรวง อว. เข้าร่วมโครงการจำนวน ๓๒ ทีม จากมหาวิทยาลัย ๒๒ แห่ง ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่ เยาวชนจะได้มีโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและตัดเย็บชุดผ้าไหม รวมถึงช่วยส่งเสริมให้ผ้าไหมไทยเป็นที่รู้จักและชื่นชมในระดับนานาชาติ

Print