คณะนักวิจัย นักวิชาการไทย-จีน ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในประเด็นท้าทาย “จีนไทยศึกษาและการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน (China - Thailand Studies and People-to-People Exchange)”

  • 7 December 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 356
คณะนักวิจัย นักวิชาการไทย-จีน ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในประเด็นท้าทาย “จีนไทยศึกษาและการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน (China - Thailand Studies and People-to-People Exchange)”
คณะนักวิจัย นักวิชาการไทย-จีน ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในประเด็นท้าทาย “จีนไทยศึกษาและการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน (China - Thailand Studies and People-to-People Exchange)” ในระหว่างการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12 ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
​คณะนักวิจัย นักวิชาการของไทย เข้าร่วมในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในระหว่างงานสัมมนายุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 2566 ณ Chen Yankui Building มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
การประชุมหัวข้อเรื่อง จีนไทยศึกษาและการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน (China - Thailand Studies and People-to-People Exchange)
Session Chair
คุณยุวดี คาดการณ์ไกล
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยุทธศาสตร์ไทย-จีน
หัวข้อในการนำเสนอประกอบด้วยนักวิจัย นักวิชาการฝ่ายไทย-ฝ่ายจีน ได้แก่
- รศ.ดร. สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ อาจารย์กองวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
นำเสนอเรื่อง “การเสด็จเยือนจีนมากกว่า 50 ครั้งของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: ความหมายและความสำคัญ” นำเสนอความสำคัญในการเสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดี รวมไปถึงความรู้และวัฒนธรรมต่างๆ ระหว่างประชาชนของประเทศไทยและจีน
- Prof. Gong Haoqun มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน
นำเสนอเรื่อง “กิจกรรมการกุศล กิจกรรมสาธารณประโยชน์ และการบูรณาการทางสังคมของพ่อค้าชาวจีนหน้าใหม่ในประเทศไทย” กล่าวถึงการสำรวจนักธุรกิจชาวจีนรุ่นใหม่ที่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 1990
- คุณชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร นักวิจัยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ นำเสนอเรื่อง “ความร่วมมือระหว่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างประชาชน และการแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขง” กล่าวถึงปัญหาที่กำลังดำเนินไปในแม่น้ำโขง และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศต่าง ๆ และความร่วมมือลักษณะต่าง ๆในอนาคต
- คุณอภิมุข สดมพฤกษ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอกคณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นำเสนอเรื่อง “การสร้างความสัมพันธ์ไทย-จีนในพื้นที่ประเทศที่สาม กรณีศึกษาภายใต้การขับเคลื่อน Soft Power ของ สปป. ลาว” กล่าวถึงการใช้อำนาจละมุน (Soft Power) ซึ่งประเทศอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนอำนาจละมุน (Soft Power) ของไทยใน สปป.ลาว
- Asst. Prof. Du Xiaojun มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
นำเสนอเรื่อง “สรุปไทยศึกษาในจีนแผ่นดินใหญ่ (พ.ศ. 2557-2566)” กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทย และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอเรื่อง “การถอดบทเรียน: แนวทางสู่อากาศบริสุทธิ์ของไทย-จีน” กล่าวถึงการแก้ไขปัญหามลพิศทางอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาข้ามพรมแดน ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศของไทยและจีน เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนและเกิดการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน
Print
Tags: