มหาวิทยาลัยหัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ วช. ร่วมจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย – จีน ครั้งที่ 12 “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่”

  • 7 December 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 310
มหาวิทยาลัยหัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ วช. ร่วมจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย – จีน ครั้งที่ 12 “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่”

มหาวิทยาลัยหัวเฉียว (Huaqiao University) แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน และสมาคมจีนเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (China Society for Southeast Asian Studies) จัดการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12” (The 12th Thai – Chinese Strategic Research Seminar) ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่ (Jointly Building a China-Thailand Community with a Shared Future in the New Era)” ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ในพิธีเปิดการสัมมนา ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ Professor Xu Xipeng เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียว พร้อมด้วย ดร.ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก กรรมการบริหารสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการกล่าวเปิดการสัมมนา
พร้อมนี้ ในการปาฐกถาพิเศษ ได้รับเกียรติจาก Keynote speaker 3 ท่านได้แก่
-Prof.Yu Hongjun อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศจีน และอดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำอุซเบกิสถาน ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก การพัฒนาและความร่วมมือของภูมิภาค”
-ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “One Road One Destination”
-Prof. Fang Ning อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์ (CASS)
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความหวังใหม่ของความทันสมัยของจีน”
สำหรับในปี 2566 นี้ ฝ่ายจีนได้เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนา ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการสัมมนาประกอบด้วยการบรรยายและการนำเสนอผลงานวิจัย ภายใต้หัวข้อย่อย ได้แก่
1) ประสบการณ์การบริหารประเทศ และการขจัดความยากจน(Poverty Reduction and Development Governance)
2) หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในโอกาสครบรอบ 10 ปี (The 10th Anniversary of the B&R Initiative and China-Thailand Cooperation)
3) การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย-จีน หลังโควิด-19 (Trade, Investment and Tourism in the Post-COVID-19 Era)
4) จีนไทยศึกษาและการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน
(China - Thailand Studies and People-to-People Exchange)
การสัมมนาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทระหว่างจีนกับไทย ในการดำเนินการในประเด็นสำคัญด้านการวิจัยอย่างบูรณาการ ตลอดจนพัฒนาการกำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ไทย – จีน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันของทั้งสองประเทศ
Print
Tags: