วช. จัดกิจกรรมอบรม “นวัตกรรมโมเสคไทยโบราณ จากเศษแก้ววัสดุศาสตร์เพิ่มคุณค่างานหัตถศิลป์ไทย” และ “ยกระดับแขนขาเทียมด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล”

วช. จัดกิจกรรมอบรม “นวัตกรรมโมเสคไทยโบราณ จากเศษแก้ววัสดุศาสตร์เพิ่มคุณค่างานหัตถศิลป์ไทย” และ “ยกระดับแขนขาเทียมด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดกิจกรรมการอบรมในเดือนสิงหาคม 2567 ณ ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน วช. ดังนี้

1. ระหว่างวันที่ 6 - 7 สิงหาคม 2567 จัดกิจกรรมอบรม เรื่อง “นกรรมโมเสคไทยโบราณ จากเศษแก้ววัสดุศาสตร์เพิ่มคุณค่างานหัตถศิลป์ไทย” โดยมี ดร.รัชพล เต๋จ๊ะยา ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผลิตกระจกเกรียบโบราณ เป็นวิทยากร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้รับการตอบรับจากนักเรียน จำนวน 103 คน จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ โดยผู้เข้ารับการอบรมได้รับการถ่ายทอดองค์ในเรื่องของประวัติ คุณค่าและความสำคัญของกระจกเกรียบโมคเสคแก้วโบราณของไทย และนวัตกรรมโมเสคไทยโบราณ (The Thai Ancient Mosaic) ที่ใช้ในการบูรณะและอนุรักษ์งานศิลปกรรมไทยตลอดจนแนวคิดการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อประดิษฐ์วัสดุศาสตร์เชิงวัฒนธรรม เป็นการบูรณะงานศิลปกรรมไทยอย่างยั่งยืน
2. ระหว่างวันที่ 13 – 14 สิงหาคม 2567 จัดกิจกรรมอบรม เรื่อง “ยกระดับแขนขาเทียมด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล” โดยมี ผศ.ดร.มนัญชยา สามาลา ผู้เชี่ยวชาญด้านงานกายอุปกรณ์และวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ โดยมีผู้ตอบรับเข้าร่วมอบรม มากกว่า 100 คน จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนศรีพฤฒา โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี และโรงเรียนสตรีวิทยา 2 โดยผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับกายอุปกรณ์และเทคโนโลยีดิจิตอลในงานกายอุปกรณ์ รวมถึงได้เรียนรู้การสร้างข้อมูล 3 มิติ ในรูปแบบดิจิตอลโดยการใช้ฟรีชอฟแวร์ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้การออกแบบสร้างสรรค์แบบจำลอง 3 มิติ และฝึกการ Scan โดยการใช้ Application จาก Smartphone
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม และนางสาวพรพิมล นันทะวงค์ ผู้อำนวยการกลุ่มแผนและงบประมาณ มอบใบประกาศนียบัตรให้กับนักเรียนที่ผ่านการอบรม กิจกรรมครั้งนี้ไม่เพียงทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์นอกห้องเรียน แต่ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติจริงจากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
Print