วช. ชู Soft power เตรียมสนับสนุนและพัฒนาพื้นที่เรียนรู้วิจัยด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ในพิพิธภัณฑ์ไทยและแหล่งเรียนรู้ระดับนานาชาติ เยือน Victoria and Albert Museum ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

  • 25 December 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 216
วช. ชู Soft power เตรียมสนับสนุนและพัฒนาพื้นที่เรียนรู้วิจัยด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ในพิพิธภัณฑ์ไทยและแหล่งเรียนรู้ระดับนานาชาติ เยือน Victoria and Albert Museum ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
Victoria and Albert Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ด้านศิลปะการตกแต่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่รวบรวมคอลเลคชันงานแฟชั่นและสิ่งทอ จากทุกมุมโลก พิพิธภัณฑ์สถาปนาขึ้นในปี 1852 และตั้งชื่อตามราชินีวิกตอเรีย และ เจ้าชายอัลเบิร์ต
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พบ Professor Dr. Colin Gale ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอและแฟชั่น, Head of Fashion on School, Birmingham City University ณ Victoria and Albert Museum ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและหารือแนวทางในโอกาสการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้วิจัยด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยในพิพิธภัณฑ์ไทยและแหล่งเรียนรู้ระดับนานาชาติ พร้อมด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ ศิลปะและหัตถศิลป์ รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความเห็น โดยมีนางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย วช. และ รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ร่วมคณะ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การร่วมหารือ พร้อมเยี่ยมชมรูปแบบการจัดพื้นที่เรียนรู้และวิธีการนำเสนอเนื้อหาของ Victoria and Albert Museum ร่วมกับ Professor Dr. Colin Gale ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอและแฟชั่น, Head of Fashion on school, มหาวิทยาลัย Birmingham City University ถือเป็นเรื่องที่ดียิ่ง ในประเด็นและโอกาสการสร้าง Soft Power ซึ่งได้รับข้อคิดเห็นสำคัญแนวทางการนำเสนองานศิลปะและวัฒนธรรม ที่ให้ความสำคัญ กับกระบวนการศึกษาวิจัย ที่สามารถสร้างเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจด้วย ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ในระดับโลกที่มีเป็นจำนวนมากในประเทศอังกฤษ พร้อมนี้ ได้มีการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างมูลค่าให้กับศิลปวัฒนธรรม โดยนำกรณีศึกษาของการถอดความรู้จากศิลปวัฒนธรรมสู่การสร้างผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ กรณีศึกษาสินค้าวัฒนธรรมใน Museum Shop ของ Victoria and Albert Museum ที่สามารถเป็นต้นแบบในการสร้างผลิตภัณฑ์จากสินค้าทางวัฒนธรรมได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน ที่ได้รับการยอมรับและตอบรับอย่างดียิ่ง
นอกจากนี้ Professor Dr.Colin Gale ได้นำดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง พร้อมด้วยคณะ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่เรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์และต้นแบบของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์ (V&A shop) พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมา องค์ความรู้และประสบการณ์ในการต่อยอดการสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย ภายในพิพิธภัณฑ์มีชิ้นงานสร้างสรรค์มากกว่า 2.8 ล้านชิ้น อาทิ รูปภาพจิตรกรรม ราฟาเอล ซึ่งเป็นชุดของการออกแบบพรม ถูกวาดขึ้นโดยราฟาเอลในปี ค.ศ. 1483 – 1520 ซึ่งถือเป็นสมบัติทีมีค่าในยุคเรอเนสซองค์(Renaissance) รวมถึงรูปปั้น “The Dying Slave” โดย Michelangelo ปี ค.ศ. 1513 เป็นต้น ซึ่งถูกนำมาจัดแสดงเพื่อแบ่งปันเรื่องราวและพัฒนาความรู้ทางวัฒนธรรม รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจงานศิลปะ
ทั้งนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวขอบคุณ Professor Dr. Colin Gale ที่ให้การต้อนรับและร่วมแบ่งปันเรื่องราวความเป็นมา องค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางในการสร้างสรรค์งานจาก สินค้าทางวัฒนธรรมของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาเป็น Soft Power ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมการพูดคุย ดร.วิภารัตน์ฯ ได้กล่าวถึง งานวิจัยการถอดชุดเฉดสีกระเบื้องเคลือบวัดราชบพิธฯ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำคุณค่าของกระเบื้องเคลือบวัดราชบพิธฯและวัดโพธิ์ อันเป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างมากของไทย ในด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ที่สามารถศึกษาวิจัยและสร้างแรงบันดาลใจ ผ่านมุมมองในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ได้เช่นเดียวกัน พร้อมนี้ วช.จะได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและวิจัย เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ของไทยและแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยในพื้นที่เรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ระดับโลกในอนาคต
Print
Tags: