ในปีนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัล ประเภทต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ สาขาเกษตรและอาหาร รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “การยกระดับกระบวนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ด้วยเครื่องนับเส้นไหมเข้าลำมาตรฐานเพื่อเตรียมไหมมัดหมี่ ผ้าไหมสุรินทร์” จากโรงเรียนจารย์วิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “ชุดตอนกิ่งพันธุ์ V.4” จากโรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัดอุดรธานี และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “เหยื่อล่อปลวกจากสารสกัดเนื้อฝักคูณ” จากโรงเรียนบัวเดวิทยา จังหวัดสุรินทร์ สาขาสุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “SPWC สำหรับการดูแลและฟื้นฟู” จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “ตาที่สาม” จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพฯ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตมือเทียมแบบเร่งด่วน” จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรีจังหวัดชลบุรี สาขาพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “ชุดผลิตก๊าซชีวภาพรุ่นใหม่” จากโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “เครื่องเก็บคราบน้ำมันบนผิวน้ำอัตโนมัติ” จากโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานร่วมและบำบัดน้ำเสีย” จากโรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่ สาขาการท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศผลงานเรื่อง “การยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรมการผลิตและอนุรักษ์ หัตถกรรมเครื่องเงินตะเกาว์ลายโบราณ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์” จากโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ จังหวัด สุรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ช่วยสังเกตการณ์ดาวและกลุ่มดาวบน ท้องฟ้าสำหรับนักท่องเที่ยว (โจนาธาน เอ็กซ์-ทู)” จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “ระบบคิดเงินอัตโนมัติโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์” โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
2) ระดับอาชีวศึกษา ได้แก่ สาขาเกษตรและอาหาร รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “เครื่องกะเทาะเปลือกและคัดแยกกุ้งแห้ง กึ่งอัตโนมัติ” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “เครื่องล้างรังนกนางแอ่นด้วยระบบสั่นของน้ำ” จากวิทยาลัยเทคนิคสตูล จังหวัดสตูล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมตัวกันถนน (แบริเออร์) จากยางพารา ผสมวัสดุธรรมชาติช่วยป้องกันความปลอดภัยบน ท้องถนน” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาสุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “เตียงช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายเอกซเรย์” จากวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “วีลแชร์ไฟฟ้าควบคุมด้วยศีรษะ” จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สาขาพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพรางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “เครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุใบไม้ธรรมชาติแทนโฟมเพื่อช่วยเปลี่ยนโลก จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “เตาปิ้งย่างประหยัดพลังงานช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “ตู้นึ่งไอน้ำประหยัดพลังงานแบบแบ่งชั้นระบบอุ่นน้ำป้อน” จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาการท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “แจกันหัตถศิลป์ลายทอง” จากวิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “เตาถ่านพับได้” จากวิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “เครื่องผลิตไขผึ้งแบบใช้หม้อต้มประหยัดพลังงาน” จากวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี จัหวัดอุบลราชธานี
3) ระดับอุดมศึกษา ได้แก่ สาขาเกษตรและอาหาร รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “โกรการ์ดโฟร์พลัส (ชีวภัณฑ์มาตรฐานสากล)” จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จากแผ่นกระดาษฟางข้าว ลามิเนตด้วยฟิล์มพอลิเมอร์ชีวภาพ” จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “เอนไซม์เคราติเนสทนความร้อนสูงเพื่อการกำจัดขนสัตว์ปีก จากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร สาขาสุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “สกรูขันกระดูกชนิดกัดเกลียวได้ในตัวประสิทธิภาพสูงโดยร่วมกับการใช้กระบวนการปรับผิวด้วยการพ่นยิงอนุภาค” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “วัสดุทดแทนและกระตุ้นการสร้างกระดูกจากคอมโพสิตของพอลิเมอร์ชีวภาพที่บรรจุสารออกฤทธิ์จากสมุนไพรไทย” จากมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “ชุดอุปกรณ์ฉายคลื่นพลังงานแสงแบบปรับได้อัตโนมัติสำหรับถาดเลี้ยงเซลล์ Automated adjustable”จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สาขาพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “วัสดุคอมโพสิตนาโนซิลิกาและคาร์บอนกัมมันต์จากแกลบ: วัสดุแอโนดศักยภาพสูงสำหรับแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนเพื่อยานยนต์ไฟฟ้า”
จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “กังหันลมแนวตั้งแบบไฮบริด” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “ตัวเก็บประจุยิ่งยวดจากนาโนเซลลูโลสจากวัชพืชน้ำผสมนาโนคาร์บอนทิวบ์ที่ได้จากสลัดจ์และน้ำมันเหลือทิ้ง” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร สาขาการท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “ระบบแสงเล่าเรื่องสำหรับงานนิทรรศการ” จากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดน่าน “คัทธนกุมารชาดก”จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมแอปพลิเคชัน (Application) “TOPSHARE” for OTOP” จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ในโครงการ “รางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชนในโครงการ Thailand New Gen Award : I New Gen Award 2020 จะได้รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัลและเกียรติบัตร