วช. ร่วมกับ AFSLAB ในการร่วมกันพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีชีวภาพของแบคทีเรียกรดแลกติก สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

วช. ร่วมกับ AFSLAB ในการร่วมกันพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีชีวภาพของแบคทีเรียกรดแลกติก สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

















วันที่ 26 สิงหาคม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย Professor Sung-Sik Yoon President of Asian Federation of Societies for Lactic Acid Bacteria ร่วมบันทึกความเข้าใจระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ Asian Federation of Societies for Lactic Acid Bacteria (AFSLAB) ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประเด็นเป้าหมายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตร ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) ณ เวทีกิจกรรม Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ร่วมจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ Asian Federation of Societies for Lactic Acid Bacteria (AFSLAB) โดยการจัดทำบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยในการร่วมกันพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีชีวภาพของแบคทีเรียกรดแลกติก รวมถึงการพัฒนาบุคลากรการวิจัย และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนผลักดันให้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประเด็นเป้าหมายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตร กล่าวรายงานที่มาของบันทึกความเข้าใจว่า ปัจจุบันจุลินทรีย์มีบทบาทอย่างยิ่งในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกระบวนการหมัก (fermentation) และในผลิตภัณฑ์โดยตรง จุลินทรีย์เหล่านี้มีทั้งจุลินทรีย์ทั่วไปที่คัดเลือกมาจากธรรมชาติ และจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เทคโนโลยีชีวภาพของจุลินทรีย์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่อย่างมากมาย โดยเฉพาะแบคทีเรียกรดแลกติก ที่มีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางในการใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการผลิตกรดแลกติกเพื่ออุตสาหกรรม การผลิตสารยับยั้งทางชีวภาพ การเป็นโพรไบโอติกส์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียกรดแลกติกอีกด้วย
บันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ เพื่อเป็นหลักการความร่วมมือในด้านการวิจัย และกิจกรรมทางวิชาการระหว่างสององค์กร ในการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีชีวภาพของแบคทีเรียกรดแลกติก
Print
Tags: