วช. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต จัดอบรม “ผู้สัมผัสอาหารเพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร สู่มาตรฐานสากล” ในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND

วช. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต จัดอบรม “ผู้สัมผัสอาหารเพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร สู่มาตรฐานสากล” ในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND















เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการอบรมในหัวช้อ “ผู้สัมผัสอาหารเพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร สู่มาตรฐานสากล” ได้รับเกียรติกล่าวเปิดการอบรม โดย รศ.ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร ที่จัดขึ้นภายในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ ณ ห้องประชุม MR202 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ผู้สัมผัสอาหารเพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร สู่มาตรฐานสากล" จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการในภาคบริการอาหาร โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจถึงความสำคัญของสุขาภิบาลอาหารในการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษและรักษามาตรฐานความปลอดภัยของอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ผู้จัดการสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ให้ความรู้เบื้องต้น ก่อนที่สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย จะทำการเปิดการทดสอบสำหรับผู้สัมผัสในการอบรมครั้งนี้ เพื่อขึ้นทะเบียนผ่านการอบรมหลักสูตร สำหรับผู้ประกอบกิจการตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารนี้ นอกจากนี้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมและผ่านเกณฑ์การอบรมจะได้รับหนังสือรับรองผู้สัมผัสอาหาร อีกด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มีการประชุม บรรยาย เสวนา Workshop ในหัวข้อต่าง ๆ มากกว่า 150 หัวข้อ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและศักยภาพของหน่วยงานในกระทรวง อว. ในการสร้างความแข็งแกร่งของสหวิทยาการในทุกด้าน ที่นำไปสู่การพัฒนากำลังคนที่มีความสามารถและพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ความท้าทายของโลกยุคใหม่ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
Print