วช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ครั้งที่ 2”

วช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ครั้งที่ 2”






















สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ครั้งที่ 2” ระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 1 อาคาร วช.1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นายศิริชัย ทิวะศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนามาตรฐานการวิจัยและจริยธรรมการวิจัย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และนายกานต์กุญช์ บำรุงชาติ หัวหน้าส่วนบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หัวหน้าโครงการ เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้

ซึ่งการอบรมได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ดร.ฉายสุรีย์ ศุภวิไล ข้าราชการบำนาญจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และรองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย ทิตภากร อาจารย์ประจำจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การจัดอบรมดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมภาคการบรรยาย และภาคทฤษฎี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัย ผู้ดำเนินการ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ นิสิต นักศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถานปฏิบัติการ มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการปฏิบัติ และสามารถพัฒนางานวิจัยได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ตามหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมทั้งสามารถให้คำแนะนำ และถ่ายทอดประสบการณ์ ให้กับผู้เกี่ยวข้องในเครือข่ายภูมิภาคได้
ทั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมจำนวน 150 ท่าน และการอบรมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานวิจัยได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพตามหลักแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ อีกทั้งเกิดความตระหนักในการป้องกันอันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป

Print