วช. สนับสนุนงานวิจัย Blue Carbon ทิศทางการวิจัยทางทะเลของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

วช. สนับสนุนงานวิจัย Blue Carbon ทิศทางการวิจัยทางทะเลของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง




















วันที่ 28 สิงหาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเสวนาเรื่อง Blue Carbon ทิศทางการวิจัยทางทะเลของประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สนิท อักษรแก้ว ที่ปรึกษาในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานคณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ศ.ดร.อัญชนา ประเทพ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.นวรัตน์ ไกรพานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คุณอภิสิทธิ์ เสนาวงศ์ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผศ.ดร.พลชาติ โชติการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.จริยาวดี สุริยพันธุ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ดำเนินการเสวนาโดย ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024) ภายใต้แนวคิด “สานพลังวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน” ณ ห้องประชุม Lotus 1-2 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ศ. ดร.สนิท อักษรแก้ว ที่ปรึกษาในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯ กล่าวว่า ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
นำมาสู่การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนการวิจัย Blue Carbon ทางทะเลโดยความร่วมมือกับหลายภาคส่วนในการเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ Blue Carbon เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าได้อย่างยั่งยืน
ศ.ดร.อัญชนา ประเทพ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การวิจัยทางทะเลของประเทศไทยด้าน Blue Carbon นั้น สามารถดำเนินงานได้ในหลากหลายรูปแบบหรือช่องทาง อาทิ deep ocean, nature base solution และศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของสิ่งมีชิวิตต่างๆ เพื่อหาวิธีในการฟื้นฟูแสู่การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญของประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ดร.นวรัตน์ ไกรพานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก วช. กล่าวว่า โจทย์วิจัยเชิงรุกของประเทศไทย ด้าน Blue Carbon-Blue Economy จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรทางทะเลให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการกักเก็บคาร์บอนของพืชชายฝั่งให้มากขึ้นด้วย
คุณอภิสิทธิ์ เสนาวงศ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันมีหลายสาเหตุที่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศชายฝั่งและระบบนิเวศทางทะเล การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่สูงขึ้นทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่การร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนในการเพิ่มอัตราการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าชายเลนให้มากยิ่งขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน
ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ศูนย์ประสานงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ได้กล่าวถึงภาพรวมว่า ในอนาคตจะมีการพัฒนาแนวทางการวิจัย Blue Carbon ทางทะเลของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ถัดมา เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิจัยด้าน Blue Carbon ของนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน จาก วช. ในหัวข้อ ศักยภาพของการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลตามธรรมชาติและปลูกบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดย ผศ.ดร.พลชาติ โชติการ จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวข้อ ปริมาณคาร์บอนสะสม คาร์บอนกักเก็บและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงตลอดฤดูกาลในแนวหญ้าทะเลตลอดชายฝั่ง และหมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดย ผศ.ดร.จริยาวดี สุริยพันธุ์ จาก มหาวิทยาลัยบูรพา
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://researchexporegistration.com ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ดูรายละเอียดได้ที่ https://researchexpo.nrct.go.th/ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2579-1370-9 ต่อ 515, 517, 518 ทั้งนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนาในหัวข้อต่าง ๆ ทางผู้จัดขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านระบบล่วงหน้าเท่านั้น

Print