วช. สอวช. และ สกสว. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น (ร่าง)พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ. .... ในวันที่สอง
เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สอวช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ร่วมจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ(ร่าง)พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ. .... ในวันที่สอง ณ โรงเเรมรามาการ์เด้น กรุงเทพฯ
การจัดประชุมในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 มีหน่วยงานและผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย
•สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
• สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(สอวช.)
• สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.)
• สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สป.อว.)
• คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร
•สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
• สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
•สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
•สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
•มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• มหาวิทยาลัยมหิดล
• มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
•มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
•มหาวิทยาลัยบูรพา
• มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
• มหาวิทยาลัยรามคำแหง
•มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
•มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
•มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
•มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
•มหาวิทยาลัยศรีปทุม
•มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
•สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
•สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
• สถาบันวิทยาลัยชุมชน
ทั้งนี้ (ร่าง)พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ. ....ดังกล่าว เป็นไปตามมาตรา 33 (2) แห่ง พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
โดยข้อคิดเห็นต่างๆจากผู้เข้าร่วมประชุมให้ความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ วช. สอวช. และสกสว. จะได้ประมวลสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฏหมาย เพื่อนำเสนอตามกระบวนการและขั้นตอนไปยังฝ่ายนิติบัญญัติ, คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พร้อมทั้ง ฝ่ายกระบวนการด้านกฏหมาย ฝ่ายบริหาร สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฏหมายอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้ง จะมีการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมจากประชาคม ววน.ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป