วช. สานพลังนักวิจัยไทยสู้ ภัยแล้ง 2020 สนับสนุนงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำ

  • 13 February 2020
  • Author: Admin4
  • Number of views: 2259



สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาวิชาการ “ภาวะแล้ง 2020 และ แนวทาง มาตรการ บริหารจัดการเพื่อปองกันในอนาคต” วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุมแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ การจัดงานครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการรวมตัวของนักวิจัยด้านน้ำระดับประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ มากกว่า 200 คนมารวมกันเพื่อจุดประสงค์สำคัญสร้างความร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งของประเทศ ที่ประเทศต้องเผชิญกันอยู่ทุกปี พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานวิจัย ส่งต่อข้อมูลการวิจัยสู่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายบริหารของประเทศพร้อมผลักดันการวิจัยสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน



ในการจัดงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษา เสนอแนะ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดิน ท่านปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภา เข้าร่วมให้เกียรติรับฟังปัญหาเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอและแนวทางแก้ไขต่อภาวะแล้งที่เกิดขึ้น ดำเนินการและส่งผ่านคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อเสนอวุฒิสภาต่อไป นโยบาย การบริหารจัดการ และการปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อเสนอและแนวทางแก้ไขต่อภาวะแล้งที่เกิดขึ้น ในระยะสั้น การแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคจะพึ่งแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่จัดสรรรองรับไว้ ซึ่งต้องมีระบบกระจายน้ำที่ดี จึงต้องพึ่งแหล่งน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งบ่อน้ำบาดาลเป็นหลัก ผลการทบทวนมาตรการที่มียังพบช่องว่างที่ควรปรับปรุงในหลายประเด็นนอกจากนั้น ด้วยภาวะการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม วิกฤตการณ์ด้านน้ำยังคงมีความเสี่ยง ในระยะยาวประเทศจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ให้สมดุล เพื่อสร้างความมั่นคงทางน้ำ และเพิ่มผลิตผลการใช้น้ำไปด้วยกัน โดยใช้มาตรการด้านผู้ใช้ ไปพร้อมกับการจัดหาน้ำเพิ่มเติม และการบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่ เช่น การวางแผนกำหนดโควตาการใช้น้ำ ตามพื้นที่และปีน้ำ พร้อมตารางการลดน้ำตามภาวะน้ำในแต่ละรูปแบบ โดยเป็นการตกลงของชุมชน พร้อมกับการปรับโครงสร้างและแผนการใช้น้ำในอนาคต ๑๐ ปี แต่ละลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำย่อย และพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ และมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีตัวแทนทั้งจากหน่วยงานหลัก จังหวัด อบจ. และตัวแทนชุมชนที่มีความสำเร็จในการจัดการแก้ไข ป้องกันปัญหาภัยแล้งได้ดี เป็นตัวอย่างของการขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้อีกต่อไป



Print
Tags: