วช. ในฐานะสมาชิกสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council, ISC) เชิญประธาน กสว. นำเสนอประเด็นท้าทายด้าน AI ต่อระบบวิทยาศาสตร์ ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 3 (The 3rd General Ass

วช. ในฐานะสมาชิกสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council, ISC) เชิญประธาน กสว. นำเสนอประเด็นท้าทายด้าน AI ต่อระบบวิทยาศาสตร์ ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 3 (The 3rd General Ass












วันที่ 28 มกราคม 2568 ในวันที่สามของการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 3 (The 3rd General Assembly) ของสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council, ISC) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มกราคม 2568 ณ Oman Convention & Exhibition Centre กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในฐานะสมาชิกสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Science Council, ISC) ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมในหัวข้อสำคัญเรื่อง Artificial intelligence and its impact on science systems และวช.ได้เชิญท่านศาสตราจารย์ ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมอภิปรายในหัวข้อ ความท้าทายและผลกระทบของ AI ที่มีต่อระบบวิทยาศาสตร์ ร่วมกับวิทยากรอีก 3 ท่าน ประกอบด้วย Dr. Sultan Al Yahyai, Co-Founder of Code Academy Oman, Nama Supply Company; Dr. Christina Zhang, CEO of Metaverse Institute, and Advisory Council of the ISC Centre for Science Futures และ Prof. Mariette Awad, Director of AI, Science and Computing Hub at American University Beirut, Lebanon

ศาสตราจารย์ ดร.สิริฤกษ์ ได้กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์ใน 4 ด้านหลัก โดยด้านแรกคือ AI ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการทดลองที่ต้องทำซ้ำๆ ใช้เวลามาก และมีค่าใช้จ่ายสูง ให้ทำได้เร็วขึ้น แม่นยำขึ้น และประหยัดขึ้น ซึ่งเห็นได้จากผลงานที่ได้รับรางวัลโนเบลเมื่อเดือนที่แล้ว
ด้านที่สองคือ AI ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่และมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญนอกสาขา ทำให้สามารถตั้งสมมติฐานได้ดีขึ้น และอาจช่วยลดการทดลองที่ไม่จำเป็น เพราะคำตอบบางอย่างอาจทราบอยู่แล้วหรือสามารถคาดการณ์ได้
ด้านที่สามคือ AI จะมีบทบาทสำคัญในการทดลองที่เกินขีดจำกัดของมนุษย์ เช่น การทดลองที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อ สารอันตราย หรือกระบวนการที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่ง AI จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำการทดลองเหล่านี้ได้ และด้านสุดท้าย AI เปรียบเสมืน "black box" ที่อาจสร้างสรรค์สิ่งที่มนุษย์คาดไม่ถึง แม้แต่ในการใช้ chat-based AI ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันก็ยังสามารถสร้างความประหลาดใจได้ ดังนั้นในอนาคต AI อาจจะแนะนำหรือเสนอแนวทางการวิจัยใหม่ๆ ที่เราไม่เคยคิดถึงมาก่อน
จากการอภิปรายเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่า AI สามารถเปลี่ยนแปลงทุกภาคส่วนรวมถึงระบบวิทยาศาสตร์ สามารถสร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่ง วช.ในฐานะหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศไทยและเกี่ยวข้องกับระบบวิทยาศาสตร์โดยตรง ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และผลสะท้อนจากการใช้ AI โดยเฉพาะฐานข้อมูลต้องมีความถูกต้อง และความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีการนำ AI มาใช้พัฒนาระบบนิเวศการวิจัย ทั้งในเชิงนโยบาย ข้อมูลเชิงสถิติ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้และทักษะควบคู่กันไปด้วย
Print