ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา ภายใต้การสนับสนุนจาก วช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา ภายใต้การสนับสนุนจาก วช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา























​ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา ระหว่างวันที่ 24 - 25 มิถุนายน 2567 ณ ห้องรวยสุข ชั้น 2 โรงแรมมารวยการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ และมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การอบรมฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567


​การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา จัดเป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 25 มิถุนายน 2567 เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่บทความด้านยางพาราระดับนานาชาติโดยการอบรมฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก Dr. Andrew John Warner เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการเขียนบทความทางวิชาการที่ถูกต้อง และให้คำปรึกษา/แนะนำแก่ผู้เข้าร่วมเป็นรายบุคคลในด้านแนวทางการเขียนและการตรวจภาษา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติบนฐานข้อมูล ISI และ Scopus ได้ต่อไป ซึ่งการอบรมฯ ในครั้งนี้ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการอบรมฯ จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดังนี้


1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. มหาวิทยาลัยมหิดล
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
6. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
7. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
8. บริษัท บางกอกพัฒนามอเตอร์ จำกัด และ
9. บริษัท เอส.เค. โพลีเมอร์ จำกัด
โดยมีแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรในเครือข่าย อาทิ อาจารย์ และนักวิจัย ให้มีการเพิ่มจำนวนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
Print