8 September 2020

วช. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรผลักดันภาคอุตสาหกรรมรองรับ Zero Plastic Waste



ขยะพลาสติกเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา แหล่งกำเนิดที่สำคัญของขยะพลาสติกมาจาก ภาคอุตสาหกรรมทั้งในรูปแบบเศษพลาสติกที่เหลือจากการตัดสินค้าไม่ได้มาตรฐาน และการเริ่มเดินเครื่องจากการผลิต เป็นต้น ซึ่งหากมีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยบริหารจัดการการทำงานของเครื่องจักรและพนักงานจะสามารถลดการสูญเสียจำนวนมากลงได้ นอกจากนี้ของเสียเกิดขึ้นหากมีระบบการจัดการเพื่อส่งต่อไปเป็นวัตถุดิบให้กับสายการผลิตอื่นหรือขายให้กับอุตสาหกรรมอื่น จะเป็นการเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด และลดขยะพลาสติกจากภาคอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยจึงเกิดแนวคิดความร่วมมือพี่ช่วยน้อง มุ่งสู่ Zero Plastic Waste ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Digital loT และ Smart Process ภายใต้ Future Industry 4.0


ปัจจุบันอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปมีความต้องการในการพัฒนาระบบกระบวนการผลิต เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้ IOT เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ลดของเสียประเภทพลาสติกที่เป็นต้นทุนหลักของวัตถุดิบ ลดการใช้พลังงาน และแรงงาน การพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศจำต้องอาศัยพลังการขับเคลื่อนจากทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 และ Circular Economy มาอย่างต่อเนื่อง ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลืออุตสกหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 หรือแนวคิด Big Brothers โดยมีกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ในฐานะ Big Brothers ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง สร้างเครือข่ายและสนับสนุนในเรื่องของความพร้อมและความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ทัดเทียมกับอุตสาหกรรมของต่างประเทศและให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0
ทั้งนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 
ซึ่งหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศและส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน บนฐานงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยที่ผ่านมาได้สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักการ Sharing as Beneficial Principle ซึ่งจะเป็นมาตรการที่สำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติก 
ได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พัฒนาระบบการรับรอง Zero Plastic Waste สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกขึ้น เพื่อให้การรับรองอุตสาหกรรมที่ลดการเกิดขยะพลาสติกได้อย่างเบ็ดเสร็จหรือขยะพลาสติกเป็นศูนย์ 
ดังนั้นเพื่อเป็นการ “ร่วมมือกันพัฒนา SME ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน” 
6 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมมือกันประกาศเจตนารมย์ความมุ่งมั่น ในการร่วมเข้าสู่สังคม Zero Plastic Waste วันที่ 8 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม mayfair C ชั้น 11 โรงแรม The Berkeley Hotel Pratunum โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และนายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ร่วมกันประกาศเจตนารมย์และแสดงวิสัยทัศน์ เรื่อง “Innovative Plastic Business for Circular Economy” 
การประกาศเจตนารมย์ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูปให้ได้การรับรอง Zero Plastic Waste for Production Process โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลักดันการอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมแปรรูป เข้าสู่ Industry 4.0 ภายใต้แนวคิด Circular Economy

Print

Categories