9 December 2023

วช. ร่วมกับ มสธ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คลังจดหมายเหตุ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”

วช. ร่วมกับ มสธ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คลังจดหมายเหตุ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “คลังจดหมายเหตุ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุมฯ
การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน โครงการจัดทำจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่ง วช. ได้มอบทุนอุดหนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมีรองศาสตราจารย์
ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะจัดเก็บรักษา และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในแต่ละสมัย/ เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารชั้นต้นที่มีคุณค่าถาวร/ที่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง รวมถึงการพัฒนางานจัดทำจดหมายเหตุทุกกระบวนงานให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีระบบการบริหารเอกสารและจัดทำระบบบริหารเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานจดหมายเหตุสากล ให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย บูรณาการร่วมกับเครือข่าย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ในการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำคลังจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยนักวิจัยได้มีการแสดงแนวคิดที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบในการรออกแบบเนื้อหาและการใช้คลังจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การจัดทำเมทาดาทา และลงรายการตามมาตรฐานดับลินคอร์เมทาดาทา (Dublin Core Metadata) การใช้โปรแกรม Omeka S สำหรับลงรายการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงผลในคลังจดหมายเหตุดิจิทัล นอกจากนั้นได้มีการนำแนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูลของเอกสาร Digital Archives โดยใช้ Data analytics มีการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ Text Visualization โดยมีจุดเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ timeline การพัฒนาการอุดมศึกษาในประเทศไทย และทำการเชื่อมโยงข้อมูล Omeka S มาสู่ Timeline และผ่านกระบวนการใช้ Text Analysis หรือการวิเคราะห์ข้อความ ซึ่งคือกระบวนการที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลข้อความเพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ และแนวโน้มต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูล การวิเคราะห์ข้อความ สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การค้นหาข้อมูลเชิงลึก การระบุตัวตน เป็นต้น มีการแสดงการใช้ โปรแกรม Repository of Authentic Digital Objects (RODA) ซึ่งเป็น Open source เพื่อใช้ในการสงวนรักษาสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งจะเป็นระบบแรกของไทยที่จะนำโปรแกรมนี้มาใช้ และมีการนำเสนอการออกแบบนิทรรศการเสมือน (Virtual Exhibition) ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากคลังจดหมายเหตุเป็นการแสดงให้เห็นถึงใช้ประโยชน์จากเอกสารที่อยู่ในคลังจดหมายเหตุฯ สู่สาธารณะได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีการประชุมออนไลน์แลกเปลี่ยนแนวคิดกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Tampere ประเทศ Finland ในหัวข้อ How Finnish Social Science Data Archive (FSD) has used standards inimplement and improve the archival of social science data ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานด้านจดหมายเหตุของไทยให้ได้มาตรฐานสากลมากขึ้น
Print

Categories