16 December 2024

วช. โดย HTPAC ร่วมขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2568 - 2570 และระยะ 5 ปี ต่อไป)

วช. โดย HTPAC ร่วมขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2568 - 2570 และระยะ 5 ปี ต่อไป)














วันที่ 12 ธันวาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate: HTAPC) จัดประชุมเพื่อรับฟังความเห็นและให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2568 - 2570 และระยะ 5 ปี ต่อไป) ณ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์

โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดงานและพูดถึงบทบาทหน้าที่ของ วช. ในฐานะหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ในประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ทาง วช. ได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง
หลังจากนั้น ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการประชุมครั้งนี้
การประชุมนี้ คุณภัทรียา เกตุสิน ผู้อำนวยการส่วนแผนงานและประมวลผล กรมควบคุมมลพิษ
ได้นำเสนอร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2568 - 2570 และระยะ 5 ปี ต่อไป) โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ประกอบไปด้วยมาตรการหลัก 5 ด้าน ได้แก่ มาตรการในพื้นที่เมือง มาตรการในพื้นที่ป่า มาตรการในพื้นที่เกษตรกรรม มาตรการภาคมลพิษข้ามแดน และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
หลังจากนั้นได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมต่อร่างปฏิบัติการฯ ดังกล่าว โดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ จะรวบรวมและจัดทำสรุปผลการประชุม ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการประชุมครั้งนี้ เพื่อนำส่งให้กรมควบคุมมลพิษพิจารณาใช้ประกอบการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2568 - 2570 และระยะ 5 ปี ต่อไป) ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ รวมถึงโจทย์การศึกษาวิจัยที่ควรจะดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ไปสู่การปฏิบัติได้ต่อไป
Print

Categories