28 November 2023
คณะนักวิจัย นักวิชาการไทย-จีน ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในประเด็นท้าทาย “ การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย-จีน หลังโควิด-19 (Trade, Investment and Tourism in the Post-COVID-19 Era)”
ในระหว่างการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12 ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
คณะนักวิจัย นักวิชาการของไทย เข้าร่วมในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในระหว่างงานสัมมนายุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 2566 ณ Chen Yankui Building มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
การประชุมหัวข้อเรื่อง การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย-จีน หลังโควิด-19 (Trade, Investment and Tourism in the Post-COVID-19 Era)
-Session Chair
พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน วช.
หัวข้อเรื่องในการนำเสนอประกอบด้วยนักวิจัย นักวิชาการฝ่ายไทย-ฝ่ายจีน ได้แก่
- Prof. Zou Yongguang มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
นำเสนอเรื่อง “การวิจัยความสนใจของเครือข่ายและโครงสร้างเครือข่ายการไหลเวียนของการท่องเที่ยวและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวจากจีนสู่ประเทศไทยหลังโควิด-19” กล่าวถึงสถานการณ์หลังจากการแพร่ระบาดโควิด 19 กระแสการท่องเที่ยวของชาวจีนมายังประเทศไทย
- ดร. ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ หัวหน้าศูนย์วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นำเสนอเรื่อง “การศึกษาโลจิสติกส์ส่งออกผลไม้สดสู่ประเทศจีนสำหรับเกษตรกรไทยรายเล็กสนับสนุนตัวแบบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน จากสวนผลไม้ถึงผู้ซื้อปลายทาง” มุ่งเน้นโลจิสติกส์ข้ามแดนทำให้เกษตรกรรายย่อยไทยสามารถส่งออกผลไม้สดเกรดพรีเมี่ยมสู่ตลาดประเทศจีนได้โดยตรง
- Asst. Prof. Luo Yifu สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์และการเมืองของโลก สถาบันสังคมศาสตร์จีน
นำเสนอเรื่อง “การบูรณาการโซ่อุตสาหกรรมระหว่างจีนและไทยในยุคหลังโรคระบาด: แนวโน้มและตัวขับเคลื่อน” กล่าวถึงการบูรณาการห่วงโซ่อุตสาหกรรมระหว่างจีนและไทยแสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมเกิดใหม่
- คุณชยาภัทร วารีนิล นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอเรื่อง “อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า : โอกาสของสินค้าจีนของการปรับภาพลักษณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” กล่าวถึงประเด็นธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าเป็นโอกาสขนาดใหญ่ของจีนสําหรับการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Assoc. Prof. Zou Xiaolong มหาวิทยาลัยจี๋หลิน
นำเสนอเรื่อง “ความร่วมมือด้านพลังงานจีน-ไทย: สถานะปัจจุบัน ความท้าทาย และอนาคต” นำเสนอการสำรวจแนวโน้มการพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างจีนและไทย ผ่านโครงการความร่วมมือในด้านปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน และไฟฟ้า และวิเคราะห์ความท้าทายสำคัญที่ความร่วมมือด้านพลังงานจีน-ไทยต้องเผชิญ
- คุณธนพล กาลเนาวกุล นักเศรษฐศาสตร์ กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง
นำเสนอเรื่อง “การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย-จีน หลังโควิด-19” กล่าวถึงการยกระดับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจผ่านกรอบความร่วมมือต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองประเทศ