28 November 2023
คณะนักวิจัย นักวิชาการไทย-จีน ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในประเด็นท้าทาย “ประสบการณ์การบริหารประเทศ และการขจัดความยากจน (Poverty Reduction and Development Governance)”
ในระหว่างการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12 ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะนักวิจัย นักวิชาการของไทย เข้าร่วมในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในระหว่างงานสัมมนายุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 2566 ณ Chen Yankui Building มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
การประชุมหัวข้อที่ 1 เป็นประเด็นเรื่องประสบการณ์การบริหารประเทศ และการขจัดความยากจน (Poverty Reduction and Development Governance)
-Session Chair
รศ.ดร. สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ
อาจารย์กองวิชาประวัติศาสตร์
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
หัวข้อเรื่องในการนำเสนอประกอบด้วยนักวิจัย นักวิชาการฝ่ายไทย-ฝ่ายจีน ได้แก่
- รศ.ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
นำเสนอเรื่อง “ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย” กล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความยากจน ผ่านการวิเคราะห์ความยากจนและความเหลื่อมลํ้าในสังคมไทย
- Prof. Yu Haiqiu สถาบันการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ของมณฑลยูนาน
นำเสนอเรื่อง “การส่งเสริมความร่วมมือลดความยากจนในระดับภูมิภาคโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียนของจีนในประเทศไทย” กล่าวถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียนในจีนและไทย ที่มีบทบาทเชิงบวกในการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในชนบท และส่งเสริมการจ้างงานในชนบท
- ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
นำเสนอเรื่อง “นโยบายความยากจนและความเหลื่อมลํ้าของประเทศไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลกและระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของจีน” ได้นำเสนอแนวนโยบายด้านภูมิศาสตร์รัฐศาสตร์ของรัฐบาล ด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงไปของภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลกและระดับภูมิภาค
- Asst. Prof. Li Yuqin มหาวิทยาลัยชิงหวา
นำเสนอเรื่อง “การพัฒนาชนบทภายใต้วิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมทอมือไทย” นำเสนอการใช้แนวทางงานภาคสนามทางมานุษยวิทยาเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณค่าหลักของชุมชน
- คุณประทีป ช่วยเกิด นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเสนอเรื่อง “การวิเคราะห์ขั้นตอนเชิงปฏิบัติของความร่วมมือการแก้ไขปัญหาความยากจน จีน-ลาว” กล่าวถึงการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยใช้แนวคิดการสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (CommonProsperity)
- Assoc. Prof. Huang Xiaorui มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
นำเสนอเรื่อง “ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ความท้าทาย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการบรรเทาความยากจนบนพื้นฐานของสุขภาพ—กรณีศึกษาในเมือง J ของจังหวัด F” กล่าวถึงการใช้เมือง J ของจังหวัด F มาเป็นตัวอย่าง โดยแยกแยะเนื้อหาของนโยบายการบรรเทาความยากจนด้านสุขภาพระดับรากหญ้า
- พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน วช. นำเสนอเรื่อง “การลดความยากจนและการพัฒนาการปกครอง: บทเรียนที่ได้รับจากประสบการณ์ 70 ปีของไทย หลังสงครามโลกที่ 2” กล่าวถึงประสบการณ์ของไทยในการลดความยากจนและการพัฒนาการปกครองให้บทเรียนที่มีค่าสำหรับประเทศกำลังพัฒนา