ในโอกาสที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน Innoweek 2024 เมื่อวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน 2567 ณ UZ Expo Centre กรุงทาชเคนต์ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน
Agency for Innovative Development,Republic of Uzbekistan เชิญนักประดิษฐ์จากประเทศไทยร่วมเสวนาวิชาการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมตอบโจทย์ความท้าทายในระดับนานาชาติ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรในการเสวนา โดยได้นำเสนอเรื่อง “Thailand Ranking in the Global Innovation Index 2024” และรองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้นำเสนอเรื่อง “Scientific and Innovative activities” ในงาน Innoweek 2024
การเสวนาได้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐาน ในการชี้ให้เห็นถึงอันดับดัชนีความสามารถในการนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index) ซึ่งการจัดอันดับประเทศต่างๆ เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลายด้าน เช่น การวิจัยและพัฒนา (R&D) การศึกษา การลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาทักษะในด้านดิจิทัล และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนวัตกรรม โดยส่วนของปัจจัยนำเข้าสู่ระบบนวัตกรรม และผลลัพธ์จากระบบนวัตกรรม เพื่อให้เห็นถึงแนวโน้มของประเทศที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากประเทศต่างๆให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อศึกษาวิจัย ประดิษฐ์คิดค้น พัฒนางานวิจัยสู่นวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศ
สำหรับการเสวนาดังกล่าวมีผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ได้แก่
- Mr. Sacha Wunsch-Vincent, Head Section, Department of Economics and Data Analytics, WIPO นำเสนอในเรื่อง “2024 GII Results”
- Mrs. Ruziah Binti Haji Shafei, Deputy Secretary General, Ministry of Science, Technology and Innovation (MOSTI) นำเสนอในเรื่อง “Insights from Malaysia’s science and innovation advancement and enhancing global innovation competitiveness”
- Ms. Nishonov Jahongir, Department Head, Agency for Innovative Development นำเสนอในเรื่อง “2024 GII results of Uzbekistan”
- Professor Marya Besharov, Said Business School, Oxford University นำเสนอในเรื่อง “Social Entrepreneurship”
เป็นต้น
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การร่วมเสวนากับนานาประเทศในเวทีการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เป็นโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ในด้านInnovation จากองค์กรนานาชาติ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเด็นงานด้านสิ่งประดิษฐ์การวิจัยและนวัตกรรมในอนาคต