16 September 2024

ผนึกกำลัง 2 กระทรวง “อว. – กระทรวงมหาดไทย” จัดตั้งวอร์รูม (War Room) รับมือน้ำท่วมพร้อมช่วยประชาชน “ศุภมาส” สั่งการ สสน.เปิดระบบข้อมูล Thai Water real time ในห้องบัญชาการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั

ผนึกกำลัง 2 กระทรวง “อว. – กระทรวงมหาดไทย” จัดตั้งวอร์รูม (War Room) รับมือน้ำท่วมพร้อมช่วยประชาชน “ศุภมาส” สั่งการ สสน.เปิดระบบข้อมูล Thai Water real time ในห้องบัญชาการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อวันที่ 15 ก.ย.67 เวลา 9.45 น. ที่กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(บกปภ.ช.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย(มท.) ในฐานะประธาน บกปภ.ช. เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยและแนวโน้มสถานการณ์ โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ดร.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย ปลัดกระทรวงทั้ง 20 กระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมอุตุนิยมวิทยา (อต.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมชลประทาน (ชป.) และผู้บริหารกระทรวง อว. และ มท. เข้าร่วม
นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้จะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่จะเป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะบูรณาการการทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการติดตามแก้ปัญหาสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนว่าจะมีการป้องกัน เยียวยาอย่างไรเพื่อทำให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยเกิดความปลอดภัยมากที่สุดทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยรัฐบาลมีความห่วงใยและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลายหน่วยงานได้ระดมกำลังเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นเพื่อให้การเตรียมการรับมือและเผชิญเหตุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกระทรวงมหาดไทยจึงได้ร่วมกับกระทรวง อว.จัดตั้งวอร์รูม (War Room) เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่ออุทกภัย ทั้งการคาดการณ์ การแจ้งเตือน เพื่อให้ทั้งผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เตรียมการรับมือและเผชิญเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียและผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด
ด้าน น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายอนุทิน ให้เตรียมความพร้อมในการสนับสนุนภารกิจของทางรัฐบาล ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกกระทรวงในการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยกระทรวง อว.ได้ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และเครือข่าย เพื่อสนับสนุนแก้ไขปัญหาและรองรับสถานการณ์ต่างๆ โดยได้เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการเปิดวอร์รูมที่กระทรวง อว.เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา แล้ววันนี้เราได้ย้ายวอร์รูมมาอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อจะได้รวมศูนย์อยู่ที่เดียวเพื่อจะได้บูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) จะเปิดระบบข้อมูล Thai Water real time ในห้องบัญชาการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กว่า 150 แห่งทั่วประเทศ เป็น อว.ส่วนหน้าจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประจำจังหวัดเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัย โดยทำงานร่วมกับส่วนท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทยรวมทั้งตำรวจ ทหารในพื้นที่ โดยการทำงานของกระทรวง อว.มี 3 เฟสด้วยกัน คือ 1.การเฝ้าระวังน้ำท่วม 2.การให้ความช่วยเหลือระหว่างน้ำท่วม และ 3.การฟื้นฟูหลังน้ำลด
น.ส.ศุภมาส กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ตนได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานของกระทรวง อว.สนับสนุนการทำงานของวอร์รูม(War Room) ที่จัดตั้งร่วมกับระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวง อว. โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ หรือ สสน.จะทำหน้าที่รวบรวม เชื่อมโยง บูรณาการและวิเคราะห์ข้อมูลน้ำและภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อน้ำ พร้อมนำรถโมบายเคลื่อนที่ไปในทุกจังหวัดเพื่อติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำปัจจุบันแบบ real time เช่น เส้นทางพายุ ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลฝนตกในพื้นที่ เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ แบบจำลองชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงโดยจะรายงานผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น เว็บไซด์คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ เป็นข้อมูลภาพรวมประเทศ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลน้ำจังหวัด เป็นข้อมูลแยกรายจังหวัด และ Mobile Application ThaiWater สำหรับประชาชนทั่วไป ใช้งานได้ง่าย ขณะที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ได้นำแอพพลิเคชั่น Traffy Fondue น้ำท่วมและระบบเตือนภัย Tanpibut (ทันพิบัติ) และที่สำคัญได้มีการเพิ่มอีกช่องทางหนึ่งคือการรับเรื่องร้องทุกข์ในส่วนของน้ำท่วม นอกจากนั้นยังมีระบบติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม น้ำล้นตลิ่งและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(จิสด้า) และยังได้นำเทคโนโลยีพร้อมใช้ เช่น โดรนสำรวจ โดรนประชาสัมพันธ์ โดรนช่วยเหลือชีวิต โดรนส่งสิ่งของช่วยเหลือ เรือกู้ภัย เรือ Wi-Fi เรือสกู๊ตเตอร์ เครื่องนอน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาคิ (วช.) เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น ที่จะเข้าไปช่วยประชาชน
“วันนี้กระทรวง อว.ได้ร่วมกับมหาดไทยจัดตั้งวอร์รูมขึ้นมาเพื่อสื่อสารข้อมูลสถานการณ์น้ำแบบบูรณาการ โดยกระทรวง อว.มีหน้าที่เตรียมข้อมูล แปลข้อมูล สนับสนุนระบบข้อมูล เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการติดตามสถานการณ์น้ำและส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสื่อสารไปยังองค์กรส่วนท้องถิ่น นอกจากนั้นยังมีเว็บไซต์ Thai Water.net เพื่อติดตามและรายงานสถานการณ์น้ำสำหรับวิเคราะห์ เพื่อวางแผน ตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่” น.ส.ศุภมาส กล่าว

Print

Categories