9 December 2023
วช. ร่วมกับ มสธ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คลังจดหมายเหตุ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “คลังจดหมายเหตุ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุมฯ
การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน โครงการจัดทำจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่ง วช. ได้มอบทุนอุดหนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมีรองศาสตราจารย์
ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะจัดเก็บรักษา และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในแต่ละสมัย/ เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารชั้นต้นที่มีคุณค่าถาวร/ที่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง รวมถึงการพัฒนางานจัดทำจดหมายเหตุทุกกระบวนงานให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีระบบการบริหารเอกสารและจัดทำระบบบริหารเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานจดหมายเหตุสากล ให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย บูรณาการร่วมกับเครือข่าย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ในการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำคลังจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยนักวิจัยได้มีการแสดงแนวคิดที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบในการรออกแบบเนื้อหาและการใช้คลังจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การจัดทำเมทาดาทา และลงรายการตามมาตรฐานดับลินคอร์เมทาดาทา (Dublin Core Metadata) การใช้โปรแกรม Omeka S สำหรับลงรายการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงผลในคลังจดหมายเหตุดิจิทัล นอกจากนั้นได้มีการนำแนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูลของเอกสาร Digital Archives โดยใช้ Data analytics มีการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ Text Visualization โดยมีจุดเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ timeline การพัฒนาการอุดมศึกษาในประเทศไทย และทำการเชื่อมโยงข้อมูล Omeka S มาสู่ Timeline และผ่านกระบวนการใช้ Text Analysis หรือการวิเคราะห์ข้อความ ซึ่งคือกระบวนการที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลข้อความเพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ และแนวโน้มต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูล การวิเคราะห์ข้อความ สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การค้นหาข้อมูลเชิงลึก การระบุตัวตน เป็นต้น มีการแสดงการใช้ โปรแกรม Repository of Authentic Digital Objects (RODA) ซึ่งเป็น Open source เพื่อใช้ในการสงวนรักษาสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งจะเป็นระบบแรกของไทยที่จะนำโปรแกรมนี้มาใช้ และมีการนำเสนอการออกแบบนิทรรศการเสมือน (Virtual Exhibition) ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากคลังจดหมายเหตุเป็นการแสดงให้เห็นถึงใช้ประโยชน์จากเอกสารที่อยู่ในคลังจดหมายเหตุฯ สู่สาธารณะได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีการประชุมออนไลน์แลกเปลี่ยนแนวคิดกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Tampere ประเทศ Finland ในหัวข้อ How Finnish Social Science Data Archive (FSD) has used standards inimplement and improve the archival of social science data ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานด้านจดหมายเหตุของไทยให้ได้มาตรฐานสากลมากขึ้น