26 January 2024

วช. หนุน กิจกรรมการประกวดเฟ้นหาสุดยอดหมู่บ้านต้นแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุการณ์ความไม่สงบ

วช. หนุน กิจกรรมการประกวดเฟ้นหาสุดยอดหมู่บ้านต้นแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุการณ์ความไม่สงบ
วช. หนุน กิจกรรมการประกวดเฟ้นหาสุดยอดหมู่บ้านต้นแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุการณ์ความไม่สงบ ภายใต้โครงการ “พัฒนากลวิธีหรือมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จากเหตุการณ์ไม่สงบสู่สังคมสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมาย นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการประกวดเฟ้นหาสุดยอดหมู่บ้าน ต้นแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันความไม่สงบ ณ ห้องประชุมนังกา ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “พัฒนากลวิธีหรือมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
จากเหตุการณ์ไม่สงบสู่สังคมสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากแผนความปลอดภัยในชีวิตเเละทรัพย์สิน เเละสวัสดิภาพสาธารณะ ซึ่งคณะผู้วิจัยภายใต้การนำของ ผศ.ดร.สุกฤษตา รักสุจริต คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (หัวหน้าโครงการวิจัย) ได้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า สภ.เมืองปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้บ่มเพาะ และส่งเสริมกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อจัดทำต้นแบบการป้องกันและการปฏิบัติตนในกรณีที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการเฝ้าระวังการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือหรือเอาตัวรอดในการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดยดำเนินการภายใต้แนวคิด “ทุ่งยางแดงโมเดล” ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา (อำเภอจะนะ นาทวี เทพา และสะบ้าย้อย)
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม รศ.ดร.นันทรัตน์ นามบุรี ที่ปรึกษาโครงการวิจัย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม และกล่าวเปิดกิจกรรม โดย นายธีรวัฒน์ บุญสม ซึ่งมีตัวแทนเครือข่าย หน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ) จากในพื้นที่จังหวัดชายภาคใต้ และ 3 อำเภอในจังหวัดสงขลาเข้าร่วมการประกวด
ซึ่งมีผลรางวัลดังนี้
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมจากอำเภอสะบ้าย้อย
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมจากอำเภอเทพา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีมจากอำเภอจะนะ และ
- รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีมจากอำเภอรามัน
Print

Categories