รัฐมนตรี อว. นำทีมผู้บริหารกระทรวง อว.ลงพื้นที่ก่อนการประชุม ครม.สัญจร จังหวัดเชียงใหม่ติดตามการจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ (System (MMS)) เพื่อเตรียมการรับมือและวางแผนการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อม

รัฐมนตรี อว. นำทีมผู้บริหารกระทรวง อว.ลงพื้นที่ก่อนการประชุม ครม.สัญจร จังหวัดเชียงใหม่ติดตามการจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ (System (MMS)) เพื่อเตรียมการรับมือและวางแผนการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อม















เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วย รมว.อว. โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวเสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานของกระทรวง อว.ร่วมกับคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 ณ จ.เชียงใหม่

โดย น.ส.ศุภมาสและคณะได้เดินทางไปที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีการนำผลการดำเนินงานในการนำองค์ความรู้ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ไปร่วมพัฒนาพื้นที่รวมถึงแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ให้กับชุมชนมานำเสนอ ทั้งนี้ น.ส.ศุภมาส ได้รับฟังรายงานผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสำรวจการจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ (System (MMS)) เพื่อเตรียมการรับมือและวางแผนการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำ สนับสนุนการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการน้ำท่วม “อว.เพื่อประชาชน” โดย ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวัง การช่วยเหลือบรรเทา การฟื้นฟูหลังสถานการณ์น้ำท่วมและการวางแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วมในอนาคตในพื้นที่ 5 จังหวัดพร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์น้ำท่วม (การเฝ้าระวัง การช่วยเหลือบรรเทา การฟื้นฟู) ในพื้นที่ 5 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วยเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางและพะเยา
จากนั้น น.ส.ศุภมาส เปิดเผยว่า หลังเหตุการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา กระทรวง อว.โดย สสน.ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเหตุการณ์อุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมและสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือสำคัญ เช่น สถานีโทรมาตรอัตโนมัติของ สสน. ซึ่งมีอยู่กว่า 1,200 สถานีทั่วประเทศ สามารถตรวจวัดปริมาณฝนและระดับน้ำแบบเรียลไทม์ แสดงผลข้อมูลออนไลน์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ได้ทันที นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติเพื่อสนับสนุนการเตือนภัยน้ำหลากในลำน้ำสาย จำนวน 4 สถานี เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยฝนตกหนัก น้ำท่วมหลาก และดินโคลนถล่ม ให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และยังมีแผนขยายการติดตั้งสถานีโทรมาตรให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตต้นน้ำและพื้นที่ที่ยังไม่มีสถานีติดตั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนแม่นยำและใช้ตัดสินใจบริหารจัดการภัยได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์
รมว.กระทรวง อว.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้ขยายการใช้งาน “คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ” ไปสู่ระดับพื้นที่ ผ่าน “ศูนย์ข้อมูลน้ำจังหวัด” ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้หน่วยงานในจังหวัดมีระบบข้อมูลสำหรับติดตามสถานการณ์น้ำ สามารถชี้เป้าคาดการณ์สถานการณ์น้ำ พร้อมรับมืออุทกภัย รวมทั้งยังช่วยวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำและทำการเกษตรในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม โดยปัจจุบันได้จัดทำเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลน้ำระดับจังหวัดครบทั้ง 76 จังหวัดแล้ว พร้อมทั้งจะขยายผลจัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำให้ครบ 76 จังหวัด ต่อไป
“ล่าสุด เราได้นำระบบสำรวจภูมิประเทศแบบเคลื่อนที่ (Mobile Mapping System: MMS) สำรวจข้อมูลระดับของพื้นที่ และรอยระดับคราบน้ำท่วม (flood mark) จัดทำข้อมูลน้ำท่วมจากระดับคราบน้ำท่วมสูงสุดในปี 2567 ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจเสร็จแล้วในจังหวัดแพร่ พะเยา และน่าน ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการในพื้นที่น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานท้องถิ่น คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2567 รวมทั้งจะวิเคราะห์ร่วมกับแบบจำลองทางด้านอุทกวิทยา เพื่อจัดทำแผนที่น้ำท่วมที่แสดงค่าระดับความสูงและน้ำท่วม ซึ่งจะช่วยในการวางแผนป้องกันและเตือนภัยล่วงหน้า ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ”
โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความช่วยเหลือโรงเรียน 3 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ได้แก่ โรงเรียนวัดป่าแดด โรงเรียนวัดเมืองสาตร และโรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย โดยนำ
“นวัตกรรมแปลงขยะพลาสติกเพื่อฟื้นฟูโรงเรียนหลังน้ำท่วม” (Innovation to Transform Plastic Waste to Restore Schools After Flooding) มาใช้ในการแก้ปัญหา พร้อมสนับสนุนการเรียนการสอนให้กลับสู่ภาวะปกติอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นผลงานของ ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ หัวหน้าโครงการ Green Road Project แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการ ‘เปลี่ยนขยะน้ำท่วมให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่’วิกฤตขยะชิ้นใหญ่หลังน้ำท่วมเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องรีบจัดการอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะสถาบันการศึกษามีครุภัณฑ์จำพวกโต๊ะเก้าอี้ ที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างแรกคือ การขนย้ายครุภัณฑ์ดังกล่าวไปกองเก็บในสถานที่รอบ ๆ โรงเรียน เพื่อรอการทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจึงย้ายกลับเข้าที่เดิมหรือรอให้แห้งแล้วคัดแยกอีกทีว่าสามารถนำกลับมาได้หรือไม่ ส่วนใหญ่มักจะถูกจำหน่ายเป็นสูญ จากผลการสำรวจทีมงานกรีนโรดความเสียหายของครุภัณฑ์หลังน้ำท่วมเมื่อเดือนตุลาคม 67 ที่ผ่านมาพบว่าครุภัณฑ์จำพวกโต๊ะเก้าอี้ จะเสียหายเฉพาะพื้นโต๊ะ และที่นั่ง พนักพิงเก้าอี้เท่านั้น ส่วนโครงโต๊ะเก้าอี้ที่เป็น โครงเหล็กยังใช้การได้ดี ดังนั้นทีมงานจึงได้นำเอาขยะพลาสติกประเภท PE (ฝาขวด) มาหลอมละลายโดยใช้ความร้อนประมาณ 180 องศาเซลเซียส อัดขึ้นรูปเป็นวัสดุแผ่นรีไซเคิลหนาประมาณ 1 ซม. แล้วตัดตามรูปทรงโต๊ะเก้าอี้เดิม ประกอบกลับไปใหม่นำไปให้โรงเรียนที่ประสบอุทกภัยได้มี โต๊ะเก้าอี้ ในการเรียนการสอนดังเดิม ที่สำคัญเป็นโต๊ะเก้าอี้ที่มีความคงทนกว่าเดิมและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
Print
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345