วช.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รื้อฟื้นการผลิตกระจกไทยโบราณ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

  • 9 October 2019
  • Author: Sarayut
  • Number of views: 2620
วช.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รื้อฟื้นการผลิตกระจกไทยโบราณ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 45
ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีคณะกรรมการของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและภาคีเครือข่ายพร้อมด้วยคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
เฝ้ารับเสด็จฯ

ในการนี้ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เฝ้ารับเสด็จและถวายรายงาน ผลสำเร็จจากการนำวิจัยและนวัตกรรม ในโครงการ "การรื้อฟื้นการผลิตกระจกไทยโบราณ” ไปบูรณะโบราณวัตถุ และโบราณสถานสำคัญของประเทศ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กมลพรรณ เพ็งพัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ตันฆศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายรชต ชาญเชี่ยว ช่างหุงกระจกจากเชียงใหม่
ร่วมเฝ้ารับเสด็จ


การพัฒนากระจกไทยโบราณ กระจกจืนและกระจกเกรียบขึ้นมาใหม่ เป็นผลงานวิจัยที่ วช. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการประดิษฐ์แก้วคริสตัลบาง เพื่อประยุกต์เป็นกระจกโบราณ จนสามารถนำกระจกจืนและกระจกเกรียบ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบประดับกระจกจืนแบบล้านนา และสามารถนำไปบูรณะโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญของชาติ

งานกระจกไทยโบราณที่พัฒนาขึ้นใหม่ดังกล่าว สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้นำใช้บูรณะศิลปวัตถุและโบราณวัตถุได้คล้ายคลึงกับกระจกเกรียบกระจกจืนโบราณเป็นอย่างมาก และการติดโลหะผสมที่มีตะกั่วเป็นฐานแบบโบราณมีความคงทน สามารถใช้งานได้ยาวนาน ทั้งนี้ วช. ได้ให้การสนับสนุนทุนเพื่อผลิตกระจกเกรียบให้สำนักช่างสิบหมู่ ได้นำไปใช้ในการบูรณะและอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งศึกษาการขยายขนาดการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตระดับกึ่งอุตสาหกรรมต่อไป

กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
โทรศัพท์ : 0 2579 1370-9
Facebook : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

Print
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345