วช. ร่วมกับ ม.เกษตร และสมาคมปลากัด เปิดตัวโครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ

  • 29 June 2020
  • Author: Admin4
  • Number of views: 2069

 

 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมปลากัด เปิดตัว โครงการ การวิจัยเพื่อการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรมปลากัดพื้นเมืองอย่างยั่งยืนและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงเศรษฐกิจ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มีความสนใจในการทำงานวิจัยด้านปลากัด พร้อมศึกษา ค้นคว้า และจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนนราภรณ์ ผู้จัดการโครงการส่งเสริมกิจกรรมการให้ทุนวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เป็นประธานพิธีเปิดตัวโครงการ การวิจัยเพื่อการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรมปลากัดพื้นเมืองอย่างยั่งยืนและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงเศรษฐกิจ พร้อมประชุมหารือเกี่ยวกับการวางแผนงานโครงการวิจัยระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสมาคมปลากัด เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มีความสนใจในการทำงานวิจัยด้านปลากัด พร้อมศึกษา ค้นคว้า และจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธาน เอกลักษณ์ทางพันธุกรรม นิเวศวิทยา และการแพร่กระจายของปลากัดป่า ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งธรรมชาติของประเทศไทย และทำการเก็บรักษาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของปลากัดด้วยเทคโนโลยีการแช่แข็งเซลล์และการโคลนนิ่ง ทั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสมาคมปลากัด  

 

 

    รองศาสตรจารย์ ดร.ครศร ศรีกุลนาถ ประธานโครงการฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อปรึกษาหารือ และวางแนวทางของโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติได้สูงสุด ไม่ว่า จะเป็นการใช้ความรู้ที่ได้จากการวิจัย มาใช้ในการอนุรักษ์ การปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ และการผสมข้ามสายพันธุ์ โดยงานวิจัยนี้ จะเป็นการริเริ่มการทำโคลนนิ่งปลากัดเป็นครั้งแรก สามารถเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ ทำให้ปลากัดของไทยเป็นที่สนใจในเวทีวิชาการระดับโลก และพัฒนานิสิตระดับปริญญาโท/เอก และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย อีกทั้งยังเป็นการยกระดับชนิดและสายพันธุ์ของปลากัดไทย ให้มีคุณค่าแก่การเป็นสัตว์น้ำประจำชาติมากยิ่งขึ้นตามแนวนโยบายรัฐ

 

Print
Tags:
Rate this article:
4.0
«January 2025»
MonTueWedThuFriSatSun
303112345
6789101112
13141516171819
20212223242526
272829303112
3456789