วช. ร่วมพัฒนาระบบจัดทำแผนที่ 3 มิติ เพื่ออนุรักษ์อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ

  • 4 February 2020
  • Author: Admin4
  • Number of views: 2103



สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ พัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับ UAV ในการทำแผนที่ 3 มิติ เพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติ การท่องเที่ยว และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในภารกิจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช(อส.) โดยดำเนินการในอุทยานแห่งชาติต้นแบบ 4 ภูมิภาค ได้แก่
1. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวและศึกษาธรรมชาติเชิงอนุรักษ์
2. อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช จ.ตาก เพื่อการป้องกันการบุกรุกทำไร่เลื่อนลอย
3.อุทยานแห่งชาติภูผายล จ.สกลนคร เพื่อการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมาย การลัดลอบตัดไม้พะยูง
4.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวและศึกษาธรรมชาติเชิงอนุรักษ์



เพื่อเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากร อส.ทั่วประเทศ ในการใช้งาน UAV ที่พัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมสำหรับกำหนดพล็อตเส้นทางการบินและการสั่งถ่ายภาพ นำภาพที่ได้มาประมวลผลร่วมกัน เพื่อสร้างเป็นโมเดลสามมิติ สำหรับจัดทำเป็นแผนที่ 3 มิติ 




ในการนี้โครงการความร่วมมือในการประยุกต์ใช้UAVเพื่อจัดทำแผนที่ 3 มิติ ได้ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย จึงได้จัดให้มีกิจกรรมส่งมอบUAVและแผนที่ 3 มิติ ระหว่าง วช.และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ให้แก่ อส. โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้ส่งมอบผลสำเร็จของโครงการความร่วมมือ ได้แก่ ระบบซอฟต์แวร์ควบคุมUAV และแผนที่ 3 มิติของอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง ให้แก่นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ เพื่อนำไปไปประยุกต์ใช้กับอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ซึ่งตอบสนองต่อภารกิจของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่อุทยานแห่งชาติของ อส. ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


Print
Rate this article:
No rating
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345