วช. หนุน การจัดงาน “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” (RUNIRAC VII)

  • 19 November 2023
  • Author: PMG
  • Number of views: 485
วช. หนุน การจัดงาน “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” (RUNIRAC VII)
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ ดร.ยุพิน เลิศบุรุษ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาเชิงพื้นที่และชุมชน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมกิจกรรมนำเข้าสู่งาน “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” (RUNIRAC VII) ที่มีกำหนดการจัดงาน ในระหว่างวันที่ 14 -16 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (เจ้าภาพในการจัดงาน) ภายใต้ธีม “วิจัย นวัตกรรม พลิกโฉมการพัฒนาท้องถิ่นสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”

ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และประธานการจัดงานฯ เผยวัตถุประสงค์ในการจัดงาน “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนานักวิจัย ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีของคณาจารย์ บุคลากร นักวิจัย และนักศึกษาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ทั่วประเทศ ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสากลตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

รศ.ดร.ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ อุปนายกสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เผยความสำเร็จในการจัดงานวันนี้ สามารถเกิดขึ้นได้จากการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างเครือข่ายราชภัฏทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศที่ช่วยกันผลักดันและสนับสนุนให้เกิดงานจัดงานในครั้งนี้นับเป็นปีที่ 7 ของทางราชภัฏ ที่สะท้อนภาพความสำเร็จของงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและนวัตกรรม (บพค.) บรรยายพิเศษ “ทิศทางและแนวทางการสนับสนุนการสร้างกำลังคน ของ บพค. ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏของประเทศไทย” ทาง บพค. ได้มีการขับเคลื่อนและดำเนินงานสนับสนุนการสร้างกำลังคนของประเทศโดยมีแนวทางการดำเนินงานต่อยอดผ่านการปรับกระบวนทัศน์ (Reinventing) ในการจัดสรรทุนโดยใช้กลไกการสร้าง Consortium ด้วยโมเดล Quadruple helix คือ การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสำคัญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม “Strategic partner” ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 ทาง บพค. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมให้เกิด Soft power ของประเทศ และได้มีการเชิญชวน มรภ. ทั้ง 38 แห่ง ให้เข้าร่วมการดำเนินงานของ “ธัชวิทย์” ต่อไป

และ ดร.ยุพิน เลิศบุรุษ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาเชิงพื้นที่และชุมชน วช. บรรยายพิเศษถึง “การสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ” วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และมีประเด็นการขับเคลื่อนด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และกำลังคนตามยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4 ของยุทธศาสตร์ ววน.ปี 2566 - 2570 ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาในการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ มรภ. ผ่าน 3 กลไก ได้แก่ 1.) การพัฒนากำลังคน 2.) การจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรม 3.) การให้รางวัลแรงจูงใจ และนับตั้งแต่ ปี 2563 - 2566 วช. ได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนทุนให้แก่ มรภ. ทั้ง 38 แห่งกว่า 511 โครงการ ภายใต้งบประมาณกว่า 528 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมชุมชน เกษตร การแพทย์ การจัดการความรู้ และสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเกิดองค์ความรู้ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ เครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

ปิดท้ายด้วยหลักคิดจาก ดร.ยุพินฯ ในการขับเคลื่อนงานให้แก่นักวิจัยในงาน “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” ว่าควรยึดหลัก 5I ในขับเคลื่อนงาน ได้แก่
1.) Innovation - การคิดค้นงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ
2.) Information - การประชาสัมพันธ์ และส่งต่อองค์ความรู้
3.) Integrity - ยึดหลักคุณธรรม ความชื่อสัตย์ และจรรยาบรรณในการดำเนินงาน
4.) Integration - การรวมกลุ่มการทำงานอย่างมีเครือข่าย และ
5.) International - การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์สู่สากล

#ราชภัฏวิจัย #มรภ.38แห่ง #5I
Print
Tags:
Rate this article:
5.0
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345