วช. โดยศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั

วช. โดยศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน  และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั
















วันที่ 3 ตุลาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดประชุมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาล โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และนางจันทิรา จิตรชื่น ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม และมี ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการประชุม ณ ห้องประชุมนนทบุรี 2 ชั้น 3 อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช. อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันถือเป็นภารกิจเร่งด่วนของประเทศไทยที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาประเทศในการสนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับประเทศไทยในด้านต่างๆ วช. จึงได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาคขึ้น โดยมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีองค์ความรู้และเครือข่ายการทำงานที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานกับเครือข่ายระดับนานาชาติในการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานทางด้านการต่อต้านคอร์รัปชันให้มีความเชี่ยวชาญที่สูงขึ้น รวมถึงสามารถสร้างผลผลิตเชิงองค์ความรู้ที่ตอบโจทย์ทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาคเผยแพร่สู่สาธารณะ อาทิ เว็ปไซต์ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการต่อต้าน คอร์รัปชัน KRAC Corruption และหลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย
นางจันทิรา จิตรชื่น ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า องค์ความรู้และผลงานวิจัยหลายชิ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีคุณภาพแต่ยังไม่ถูกนำมาใช้ การสร้างแพลตฟอร์มของศูนย์ฯ จะทำให้ผลงานวิจัย และนวัตกรรมด้านการต่อต้านทุจริตได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ องค์ความรู้จะสามารถถูกนำมาใช้วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นนโยบายที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาการทุจริตในประเด็นต่างๆ ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อสำนักงาน ป.ป.ช. หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาที่จะได้นำข้อมูลจากแพลตฟอร์มที่รวบรวมองค์ความรู้ และข่าวสารด้านการต่อต้านการทุจริตไปใช้ อีกทั้งเป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านในการร่วมมือกันต่อต้านการทุจริต สร้างสังคมที่โปร่งใส บนพื้นฐาน องค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มาจากผลงานการวิจัยและการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม คาดหวังว่าจะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดงานเสวนาหัวข้อ “Matching Date Event จับคู่ Feature ที่ชอบ ตอบโจทย์การทำงาน (ต่อต้านคอร์รัปชัน) ที่ใช่” โดย นายวันชัย สีขาว ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริต สำนักวิจัยและบริการวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนหารือแนวทางการต่อยอดแพลตฟอร์มและหลักสูตรฯ ร่วมกันระหว่างศูนย์ความรู้ฯ และ สำนักงาน ป.ป.ช. อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรด้านวิชาการ สื่อความรู้ และการนำองค์ความรู้จากฐานข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดทางด้านงานวิจัย หรือนวัตกรรมทางสังคม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนและหารือแนวทางการขยายผลและร่วมมือพัฒนาแพลตฟอร์มฯ และหลักสูตรฯ ซึ่งมีบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook ด้วย
Print
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345