65 ปี วช. จัดเสวนาวิชาการ “ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม ภูมิปัญญาไทย”มุ่งเป้าสร้างมูลค่าจากทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอย่างยั่งยืน

65 ปี วช. จัดเสวนาวิชาการ “ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม ภูมิปัญญาไทย”มุ่งเป้าสร้างมูลค่าจากทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอย่างยั่งยืน

















สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม จัดเสวนาวิชการ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 เรื่อง “ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย
นวัตกรรม ภูมิปัญญาไทย” เนื่องในโอกาส วช.ครบรอบ 65 ปี ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติโดยมี ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ที่ปรึกษาคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ รศ.สมบัติ ประจญศานต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรให้เกียรติร่วมเสวนา
ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ที่ปรึกษาคณะกรรมการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการที่มีผลต่อการเติบโตและการพัฒนาของตลาด โดยควรเริ่มจากการส่งเสริมการสร้างสรรค์และนวัตกรรม การขยายตลาด และการมุ่งสร้างผลกระทบที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับชาติ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวถึงการยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และภูมิปัญญาไทย โดยได้ยกตัวอย่าง การส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย
นวัตกรรมล้านนาโคโยริ โมเดล (Lanna Koyori Model) ซึ่งทำให้เห็นภาพของการพัฒนาทักษะองค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองที่มีความแตกต่างและโดดเด่นที่ตรงกับความต้องการของตลาดในยุคชีวิตวิถีใหม่โดยใช้นวัตกรรมและวัฒนธรรม
สร้างสรรค์
รศ.สมบัติ ประจญศานต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กล่าวถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ชุมชน โดยได้ให้แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาผ้าไหมมมัดหมี่เชิงสร้างสรรค์ ด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ การสร้างรูปแบบและเรื่องราวใหม่ๆ ตลอดจนการออกแบบให้เกิดการใช้แบบใหม่ ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และการตลาดในปัจจุบันได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาส วช. ครบรอบ 65 ปี ได้จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
Print
«December 2024»
MonTueWedThuFriSatSun
2526272829301
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
303112345