เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2567 สถาบันสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences, CASS) โดย Prof. Liu Libin, Deputy Director, National Institute of International Strategy, CASS นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย วช. และคณะของ วช. ร่วมศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูง ของ Huawei Technologies Co.,Ltd. ที่ Huawei HQ in Shenzhen โดยมี Mr.Tonny Bao, Vice President of Huawei Technology ให้การต้อนรับ Ms.Daria Jiang, Regional Manager of Government Affairs และนางสาวปิยพร คิดศิริอนันต์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร นำคณะจาก วช. เข้าเยี่ยมชมศึกษาเทคโนโลยีชั้นสูง ณ ศูนย์จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ Huawei Technologies Co.,Ltd. สำนักงานใหญ่เซินเจิ้น
คณะผู้บริหารและวิทยากรของ Huawei Technologies Co.,Ltd. ได้นำเสนอ Platform โลกอัจฉริยะที่เข้ามามีบทบาทต่อหลายประเทศ บริษัท “Huawei” ได้นำเทคโนโลยีระดับสูง มาสร้างโอกาสและความท้าทายในด้านนวัตกรรม โดยการลงทุนด้านการวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค พร้อมทั้งขับเคลื่อนความต้องการเหล่านี้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ Huawei ได้สร้างโมเดลธุรกิจที่ยืดหยุ่นและสนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและอุตสาหกรรมต่างๆ นำโมเดลและแอปพลิเคชันต่างๆ มาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัท Huawei ดำเนินในธุรกิจด้านต่างๆ ได้แก่ ธุรกิจเครือข่ายโทรคมนาคม (Carrier Business) ธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับองค์กร (Enterprise Business) และธุรกิจอุปกรณ์สื่อสารสำหรับผู้บริโภคทั่วไป (Consumer Business) โดยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา Huawei ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อสนับสนุนเครือข่ายของผู้บริโภค ให้สามารถทำงานและดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย และมุ่งมั่นที่จะนำระบบดิจิทัลมาสู่ประชาชน โดยเชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบและอัจฉริยะ Huawei ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อนวัตกรรมและการวิจัยด้านเทคโนโลยี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้กล่าวขอบคุณ Mr.Tonny Bao, Ms.Daria Jiang และนางสาวปิยพร คิดศิริอนันต์ จาก Huawei Company ที่ให้การต้อนรับและร่วมแบ่งปันเรื่องราว องค์ความรู้เทคโนโลยีด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนฉายให้เห็นภาพรวมการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดย วช. มีความสนใจเทคโนโลยี Digital Power นวัตกรรมการควบคุมการกักเก็บพลังงาน และ EV Charger เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการอัดประจุ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมนโยบายและแผนงานด้านการวิจัย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในอนาคต