หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) พัฒนาระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (Thai National Research Repository: TNRR) เพื่อบูรณาการข้อมูลงานวิจัยและระบบบริหารจัดการงานวิจัย เพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ ต่อมาในปี ๒๕๕๗ คอบช. เห็นชอบให้ปรับระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) เป็น ๒ ระบบ คือ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ และระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทยที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน วช. จึงได้ดำเนินการร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System: NRMS) โดยขยายขอบเขตให้ครอบคลุมการบริหารจัดการงบประมาณและงานวิจัยของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานแหล่งทุน และหน่วยงานอื่น ๆ ระบบ NRMS ประกอบด้วย ระบบประเมินข้อเสนอการวิจัย (Proposal assessment) ระบบดำเนินการและติดตามงานวิจัย (Ongoing & monitoring) ระบบประเมินผลงานวิจัย (Research evaluation) และระบบฐานข้อมูลนักวิจัย
ระบบ NRMS ได้เปิดใช้งานครบทุกระบบงานและมีการดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลวิจัย งบประมาณการวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบ NRMS มาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายมุ่งเน้นให้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม ระบบ NRMS จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการทำงานตามกลไกการดำเนินงานภายใต้การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม และเพื่อให้ผู้บริหาร นักวิจัย และผู้ประสานงานหน่วยงานภาครัฐเข้าใจกระบวนการทำงานและสามารถบริหารจัดการข้อมูลผ่านระบบ NRMS ได้ถูกต้องและครบถ้วน รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นสมควรจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบดังกล่าว ให้กับผู้บริหาร/ผู้ประสานหน่วยงาน/นักวิจัย ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้รับทราบกระบวนการทำงานของระบบ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ผู้บริหาร/ผู้ประสานงานหน่วยงาน/นักวิจัยของหน่วยงานภาครัฐเรียนรู้การใช้ระบบ Ongoing & monitoring และระบบ Research evaluation
๒. เพื่อให้ผู้บริหาร/ผู้ประสานหน่วยงานภาครัฐ เรียนรู้การรายงานการติดตามงบประมาณบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมผ่านระบบ NRMS
๓. เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
ผู้บริหาร/ผู้ประสานหน่วยงาน/นักวิจัยของหน่วยงานภาครัฐ ครั้งละประมาณ ๓๖ คนระยะเวลาและสถานที่จัดอบรม
ครั้งที่ ๑ วันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ สำหรับประสานหน่วยงาน และผู้บริหารงานวิจัย (สถานที่ ณ วช.) ปิดรับลงทะเบีน (เต็ม) ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนที่นี่ ครั้งที่ ๒ เดือนธันวาคม ๒๕๖๐* สำหรับผู้ประสานหน่วยงาน และผู้บริหารงานวิจัย (สถานที่ ณ หน่วยงานเครือข่ายในภูมิภาค) (ยังไม่เปิดรับลงทะเบียน)
ครั้งที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๑ สำหรับนักวิจัย (สถานที่ ณ วช.) ลงทะเบียนที่นี่
ครั้งที่ ๔ วันศุกร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ สำหรับผู้ประสานหน่วยงาน และผู้บริหารงานวิจัย (สถานที่ ณ วช.) ปิดรับลงทะเบีน (เต็ม) ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนที่นี่
ครั้งที่ ๕ วันศุกร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ สำหรับนักวิจัย (สถานที่ ณ วช.) ลงทะเบียนที่นี่
ครั้งที่ ๖ วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ สำหรับผู้ประสานหน่วยงาน และผู้บริหารงานวิจัย (สถานที่ ณ วช.) ลงทะเบียนที่นี่ ครั้งที่ ๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๑* สำหรับผู้ประสานหน่วยงาน และผู้บริหารงานวิจัย (สถานที่ ณ หน่วยงานเครือข่ายในภูมิภาค) (ยังไม่เปิดรับลงทะเบียน)
ครั้งที่ ๘ วันศุกร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ สำหรับนักวิจัย (สถานที่ ณ วช.) ลงทะเบียนที่นี่
หมายเหตุ : ๑. สำหรับผู้ประสานหน่วยงาน และผู้บริหารงานวิจัย เปิดรับจำนวนไม่เกินหน่วยงานละ ๓ คน/การอบรมทั้ง ๘ ครั้ง (จะขอยกเลิกสิทธิ์ท่านที่ ๔ เป็นต้นไป) ๒. สำหรับนักวิจัย เปิดรับจำนวนไม่เกินหน่วยงานละ ๓ คน/การอบรมแต่ละครั้ง
(จะขอยกเลิกสิทธิ์ท่านที่ ๔ เป็นต้นไป)ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางกนกพร เกิดเอนก , นางสาวนวรัตน์ เยาวรัตน์ และนางสาวอังคณา โชติช่วง
กองมาตรฐานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
โทร : ๐๒-๕๖๑-๒๔๔๕ ต่อ ๖๐๗, ๖๑๗, ๐๒-๙๔๐-๖๕๐๑
**************************************************
* อาจปรับเปลี่ยนสถานที่
ตามที่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานในกำกับของรัฐ ได้จัดทำคำของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ส่งมายังระบบ NRMS นั้น
ในการนี้ วช. และ สวทน. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพ ขอความร่วมมือหน่วยงานให้ดำเนินการ ดังนี้
๑. นำส่งเอกสารคำเสนอของบประมาณที่ดำเนินการตามแผนบูรณาการฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ มายัง วช. ภายในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ประกอบด้วย
๑.๑ หนังสือนำส่งข้อเสนอแผนบูรณาการวิจัยของหน่วยงาน
๑.๒ สรุปคำเสนอของบประมาณแผนบูรณาการฯ (แบบ บวน.๑) และสรุปรายละเอียดแผนบูรณาการฯ (แบบ บวน.๒) ที่พิมพ์จากระบบ NRMS จำนวน ๒ ชุด
๑.๓ ข้อเสนอแผนบูรณาการวิจัยฉบับเต็มที่พิมพ์จากระบบ NRMS จำนวน ๒ ชุด โดยขอให้จัดทำหน้าปกแยกตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ ดังนี้
- เป้าหมายที่ ๑ จัดทำหน้าปกสีชมพู
- เป้าหมายที่ ๒ จัดทำหน้าปกสีเขียว
- เป้าหมายที่ ๓ จัดทำหน้าปกสีฟ้า
- เป้าหมายที่ ๔ จัดทำหน้าปกสีเหลือง
๑.๔ ส่งเอกสารได้ที่ อาคาร วช.๔ ชั้น ๑ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
๒. รายงานผลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในระบบประเมินผลงานวิจัย (NRMS-Research evaluation) สำหรับโครงการวิจัยที่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากรอบวงเงินงบประมาณปี ๒๕๖๒
๓. วางแผนการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของแผนบูรณาการด้านส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ตั้งแต่วันที่ ๑-๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ และนำเข้าข้อมูลโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณการวิจัยในปี ๒๕๖๑ (Ongoing & Monitoring) ในระบบ NRMS (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒) ทั้งนี้ให้หน่วยงานตรวจสอบจำนวนโครงการ/งานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยให้ตรงตามจำนวนเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณ และ วช. จะจัดประชุมชี้แจงการติดตามงบประมาณประจำปี ๒๕๖๑ พร้อมจัดอบรมการนำเข้า แผน/ผล ในระบบ NRMS ภายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัยโทร. ๐ ๒๕๖๑ ๒๔๔๕ ต่อ ๔๐๔, ๔๐๕, ๔๐๗, ๔๐๙, ๔๑๐โทรสาร ๐ ๒๕๖๑ ๓๗๒๑เจ้าหน้าที่ประสานงาน :ยุรติกานต์ (๔๐๔)ดารินพร (๔๐๕)จุฑามณี / มัลลิกา (๔๐๗)พรพิมล (๔๐๙)จิราภรณ์ (๔๑๐)
ขอความอนุเคราะห์หน่วยงานตรวจสอบความถูกต้องของการจัดทำคำเสนอของบประมาณแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
ในการนี้ วช. และ สวทน. ในฐานะเจ้าภาพหลักแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 ขอความร่วมมือหน่วยงานโปรดดำเนินการ ดังนี้
ตรวจสอบความถูกต้องของคำเสนอของบประมาณแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในระบบ NRMS ให้สอดคล้องกับ แผนงาน เป้าหมาย แนวทาง ตัวชี้วัด กลุ่มเรื่อง และกลุ่มเรื่องย่อย ตามแผนงานบูรณาการฯ ระหว่างวันที่ 26-31 ตุลาคม 2560
ยืนยันสรุปคำเสนอของบประมาณแผนบูรณาการฯ (บวน.1) และสรุปรายละเอียดแผนบูรณาการฯ (บวน.2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ผ่านระบบ NRMS ภายในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 เวลา 12.00 น.
หมายเหตุ :1. ผู้ประสานหน่วยงานตรวจสอบแผนบูรณาการและโครงการ พร้อมทั้งสามารถแก้ไขความสอดคล้อง เป้าหมาย แนวทาง ตัวชี้วัด กลุ่มเรื่อง และกลุ่มเรื่องย่อย ข้อเสนอโครงการ โดยการนำเข้าไฟล์ข้อเสนอโครงการเดิมที่มีการปรับปรุงแก้ไข (สามารถทดสอบการนำเข้าไฟล์ template ได้ที่เมนู “ตรวจสอบเอกสารโครงการ” ที่หน้าแรกระบบ NRMS (http://www.nrms.go.th/Test_62PropForm.aspx)) 2. เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้ว หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ยืนยันส่งข้อเสนอมายังหน่วยงานเจ้าภาพ โดยไปที่เมนู “แบบ บวน” เพื่อทำการยืนยันการส่งข้อมูลดังกล่าว 3. หน่วยงานไม่สามารถเพิ่มเติมโครงการ หรือเพิ่มเติมงบประมาณได้
สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัยโทร. 0 2561 2445 ต่อ 404, 405 โทรสาร 0 561 3721เจ้าหน้าที่ประสานงาน ยุรติกานต์ / นุชสรา / ดารินพร / ภรรทรทร
ด้วย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม ได้ร่วมมือกันเพื่อให้ทุนอุดหนุนการวิจัยด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ภายใต้แผนโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยเชิงนโยบายและการประยุกต์สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม กลุ่มเรื่องการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ 2560 และได้ประกาศการรับข้อเสนอการวิจัยภายใต้แผนงานดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ซึ่งเปิดรับระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เพื่อการจัดสรรทุนประจำปีงบประมาณ 2560
ในการนี้ วช. ได้พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอการวิจัยที่สมควรได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย แผนโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยเชิงนโยบายและการประยุกต์สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม กลุ่มเรื่องการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ 2560 เสร็จแล้ว
จึงใคร่ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน รายละเอียดดังเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้
หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่
กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.) (ชุติมณฑน์/เกศรา/อุไร) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 196 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2561-2445 ต่อ 412, 413 โทรสาร 0-2579-2284
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้รับมอบหมายจาก คอบช. โดย วช. ให้บริหารจัดการทุนวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2561 จำนวน 7 กลุ่มเรื่อง ดังนี้1) กลุ่มเรื่อง ข้าว 2) กลุ่มเรื่อง ปาล์มน้ำมัน 3) กลุ่มเรื่อง อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และการค้า 4) กลุ่มเรื่อง สมุนไพรไทย อาหารเสริมและสปา 5) กลุ่มเรื่อง พืชสวน/พืชไร่ 6) กลุ่มเรื่อง สัตว์เศรษฐกิจ 7) กลุ่มเรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยได้ประกาศรับข้อเสนอการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2561 ไปแล้วนั้นในการนี้ เพื่อให้การจัดสรรทุนวิจัย ครอบคลุมในทุกประเด็นการวิจัย สวก. จึงเห็นควรประกาศรับข้อเสนอการวิจัย รอบที่ 2 โดยการส่งข้อเสนอการวิจัยผ่านระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) (www.nrms.go.th) ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2560 - 15 พฤศจิกายน 2560 นี้เท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มเรื่อง ข้าว
คุณอตินิตภ์
โทร. 02-579-7435
ต่อ
1304
กลุ่มเรื่อง ปาล์มน้ามัน
คุณฑิฆัมพร
โทร. 02-579-7435
ต่อ
3208
กลุ่มเรื่อง อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสาหรับผู้บริโภค และการค้า
คุณกนกวรรณ
คุณศศิวิมล
คุณกมลวรรณ
โทร. 083-5435613
โทร. 084-1615217
โทร. 094-5632727
กลุ่มเรื่อง สมุนไพรไทย อาหารเสริมและสปา
คุณอุมารินทร์
คุณสุภา
โทร. 064-9328050
โทร. 02-579-7435 ต่อ 3207
โทร. 02-579-7435 ต่อ 3219
กลุ่มเรื่อง พืชสวน/พืชไร่
คุณภาณุ
โทร. 02-579-7435
ต่อ
3217
กลุ่มเรื่อง สัตว์เศรษฐกิจ
คุณจันทร์เพ็ญ
โทร. 02-579-7435
ต่อ
3206
กลุ่มเรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้า
คุณอานุภาพ
โทร. 02-579-7435
ต่อ
1302
ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศรับข้อเสนอการวิจัย ประเภทบัณฑิตศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2561 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 27 กรกฎาคม 2560 และกำหนดแจ้งการประกาศผลการคัดเลือกข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทบัณฑิตศึกษาประจำปีงบประมาณ 2561 ภายในเดือนตุลาคม 2560 นั้น ในการนี้ วช. ขอแจ้งเลื่อนการประกาศผลการคัดเลือกข้อเสนอการวิจัยฯ ดังกล่าว จากภายในเดือนตุลาคม 2560 เป็นภายในเดือนพฤศจิกายน 2560กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.) ชั้น 2 อาคาร วช. 4 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร : 0-2561-2445 ต่อ 408
ข้อมูลสารสนเทศจากระบบ NRMS ประจำปี 2560 ไตรมาส 4 มีดังนี้
สถานภาพการดำเนินงานวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ปี 2556 - 2560
สถานภาพนักวิจัยในระบบ NRMS
ความเชี่ยวชาญของนักวิจัย จำแนกตาม ISCED ระดับ Broad field
10 ลำดับความเชี่ยวชาญของนักวิจัย จำแนกตาม ISCED ระดับ Detailed field
นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve ซึ่งจำแนกตาม ISCED
ส่วนที่ 1 คำอธิบายการกรอก template1. คำอธิบายการกรอกแบบเสนอแผนบูรณาการ (Integrated Research Program)2. คำอธิบายการกรอกแบบเสนอชุดโครงการวิจัย (Research Program)3. คำอธิบายการกรอกแบบเสนอโครงการวิจัย (Research Project)ส่วนที่ 2 เอกสารเพิ่มเติม4. (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 12)6. ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น (45 เรื่อง)7. อุตสาหกรรมและคลัสเตอร์เป้าหมาย8. ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์9. ข้อกำหนดสำหรับข้อเสนอการวิจัยที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ 10. แนวทางจริยธรรมการวิจัยในคน และที่เกี่ยวข้องกับคน11. ข้อกำหนดสำหรับข้อเสนอการวิจัยในคนฯ12. แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่13. ข้อกำหนดสำหรับข้อเสนอการวิจัยความปลอดภัยทางชีวภาพฯ14. คำจำกัดความของเป้าหมาย 1-415. แนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดการความปลอดภัยสำหรับห้องปฏิบัติการวิจัยที่เกี่ยวกับสารเคมี
๑.ที่มาและความสำคัญ การวิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย "Thailand 4.0” ของรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งได้มีการปฎิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้วยการจัดตั้ง “สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ” ขึ้นเป็นสภาหลัก โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในการทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นกลไกการบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ตรงกับตามความต้องการและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการร่วมของสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้บริหารจัดการในภาพรวมของการขับเคลื่อนการผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในมิติเชิงพาณิชย์ และมิติต่างๆ โดยเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ได้นำร่องจัดงาน “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้” โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ๔ แห่ง เพื่อเป็นต้นแบบนำร่องในการดำเนินการร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะนำผลงานไปสู่การซื้อขาย การจัดซื้อจัดจ้างหรือต่อยอดการดำเนินการเชิงพาณิชย์ต่อไป ดังนั้น เพื่อการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ในคราวการประชุมคณะกรรมการบูรณาการบริหารจัดการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี (เดิม) ชั้น ๒ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล วช. จึงได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าว ให้ดำเนินการจัดกิจกรรม “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม” เป็นครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๒๓ – ๒๔ กันยายน ๒๕๖๐ ณ ไปรษณีย์กลาง บางรัก โดยสืบเนื่องจากการจัดครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยนำเสนอผลงานวิจัยในระดับที่มีความพร้อมใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ที่เป็นผลิตผลจากการคัดกรอง วิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (Thai National Research Repository: TNRR) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลการวิจัยของหน่วยงานทั่วประเทศ ทั้งนี้ โดยให้ประสานพลังความร่วมมือ ร่วมขับเคลื่อนและบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในกลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลิตผลงานวิจัย และกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ไชปัญหาและพัฒนาประเทศ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ สร้างความก้าวหน้า และขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ จะได้มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในครั้งต่อๆ ไปในทุก ๓ – ๖ เดือน ๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อเร่งให้เกิดการขยายผลและนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ที่มีอยู่แล้วในฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศ ไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ เชิงชุมชน/สังคม เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมของประเทศ ๒.๒ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของไทยไปใช้ประโยชน์หรือเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ และเชิงชุมชน/สังคม ๓. กลุ่มเป้าหมาย ๓.๑ ผู้เข้าร่วมจัดแสดงผลงาน ได้แก่ นักวิจัยจากหน่วยงานในระบบวิจัยและหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรจากทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center : TCDC) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓.๒ ผู้เข้าร่วมชมงาน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบายของประเทศ ผู้บริหารระดับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการ นักพัฒนา ผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชน ๔. กิจกรรมภายในงาน ๔.๑ การนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ในภาคนิทรรศการ จำนวนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง ใน ๗ กลุ่มเรื่องวิจัย ตามกรอบยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ระยะ ๒๐ ปี ประกอบด้วย ๑) งานวิจัยเพื่อความมั่นคง ๒) งานวิจัยเพื่อการเกษตร ๓) งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม ๔) งานวิจัยเพื่อสังคม ๕) งานวิจัยเพื่อการแพทย์ และสาธารณสุข ๖) งานวิจัยเพื่อพลัง