ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง! ที่นักประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีคว้ารางวัล Grand Prize จาก “Seoul International Invention Fair 2024”ณ สาธารณรัฐเกาหลี

ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง! ที่นักประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีคว้ารางวัล Grand Prize จาก “Seoul International Invention Fair 2024”ณ สาธารณรัฐเกาหลี















ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง!กับทีมนักประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย โดยสามารถคว้ารางวัล Grand Prize รางวัลสูงสุดของการจัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2567 โดย

Korea Invention Promotion Association (KIPA) ณ COEX Convention & Exhibition Center สาธารณรัฐเกาหลี

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัล Grand Prize ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ซัคเสส นวัตกรรมสารเติมแต่งเพื่อการแยกเพศน้ำเชื้อโคสด” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ และคณะ ซึ่งซัคเสส เป็นนวัตกรรมสารเติมแต่งแยกเพศน้ำเชื้อโค เพื่อการผลิตน้ำเชื้อโคแยกเพศแช่แข็ง การแยกเพศน้ำเชื้อโคด้วยนวัตกรรม SuccexX สามารถใช้ได้กับน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนมและโคเนื้อ จะทำให้เกษตรกรได้ลูกโคเพศเมียในอัตราที่สูงถึง 80%
นอกจากนี้ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของประเทศไทยยังได้รับรางวัลสำคัญบนเวที SIIF 2024 ดังนี้
- รางวัล WIPO National Award for Creativity ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องฝึกสะกดนิ้วมือสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วย AI” โดย นายวศิน แสงสิน และคณะ จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
- รางวัล IFIA Best Invention Award ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เอ ซีเคร็ท มัลติ คอลลาเจน เจลลี่ เอ็นพลัส” โดย บริษัท เอ เมตาเวิร์ส จำกัด
และยังมีประดิษฐกรรมและและนวัตกรรมอีก 7 ผลงานที่ได้รับ Special Prizes on stage จากองค์กรนานาชาติ ดังนี้
- รางวัล WIIPA Special Award จาก World Invention Intellectual Property Associations ไต้หวันผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “สารสกัดกรดโรสมารินิกเข้มข้นเพื่อการฟื้นฟูสภาพผิวจากพิษของฝุ่นพีเอ็ม 2.5” โดย ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ร้อยตำรวจเอกหญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง บริษัท เฮิร์บ การ์เดียน จำกัด
- รางวัล CAI Award Invention & Innovation จาก China Association of Inventions จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “หุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ลอยน้ำ” โดย นายยิ่งศักดิ์ กำลังใบ และคณะ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- รางวัล Special Award จาก Taiwan Invention Association ไต้หวัน ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “The Origi Wolffia” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น และคณะ จากวิสาหกิจชุมชนแปลงนาสะอาด
- รางวัล Recognition Plaque จาก Majmaah University ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “สเปรย์บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากสารสกัดสมุนไพรกระดูกไก่ดำ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รางวัล Special Prize of Korea Fire Institute จาก Korea Fire Institute สาธารณรัฐเกาหลี ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ โดรนบรรเทาอุทกภัยควบคุมผ่าน 4G” โดย นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล และคณะ จากสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ
- รางวัล KIPA Special Prize จาก Korea Invention Promotion Association สาธารณรัฐเกาหลี ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมทางการแพทย์ประสิทธิภาพสูงสำหรับสัตว์เลี้ยง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- รางวัล Special Prize of Korea Women Inventors Association จาก Korea Women Inventors Association สาธารณรัฐเกาหลี ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “MammoPro Educator: หุ่นจำลองเต้านมสำหรับฝึกจัดท่าถ่ายเอกซเรย์เต้านม” โดย ดร.สุพรรณิการ์ ขาววิเศษ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอแสดงความยินดีและชื่นชม คณะนักประดิษฐ์นักวิจัยไทย ที่ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย และสร้างโอกาสในการยอมรับมาตรฐานของผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยในเวทีนานาชาติ
Print

Categories