วช. จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2567” (4 ภูมิภาค: ภาคเหนือ)

วช. จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2567” (4 ภูมิภาค: ภาคเหนือ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2567” (4 ภูมิภาค: ภาคเหนือ) โดย ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้มอบหมายให้นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมฯ ณ โรงแรม The Park ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
นายสมปรารถนา สุขทวี กล่าวย้ำถึงภารกิจด้านการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมซึ่งเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของ วช. ที่มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ นักวิจัยรุ่นใหม่ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนวัตกรรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ที่สอดคล้องถูกต้องตามหลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่เชิงสาธารณะ หรือเชิงนโยบายได้ วช. จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่” ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยการฝึกอบรมฯ ในครั้งนี้ถือเป็นการฝึกอบรมฯ ครั้งที่ 3 ของรุ่นที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์/นักวิจัยรุ่นใหม่ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และรับข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยให้มีคุณภาพตามหลักวิชาการ และสามารถเสนอขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ ได้ โดยตลอดระยะเวลาของการฝึกอบรมฯ วช. ได้ปรับปรุงเนื้อหาสาระของหลักสูตรดังกล่าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบวิจัยและนวัตกรรมในปัจจุบัน และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม
ทั้งนี้ วช. ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.โกสุม จันทร์ศิริศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ รองศาสตราจารย์ ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค ดร.อรสุดา เจริญรัถ และ นายสมบูรณ์ วงศ์กาด ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย อีกทั้ง วช. ยังได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นอย่างดียิ่ง โดยมีอาจารย์/นักวิจัยรุ่นใหม่ที่ผ่านการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคเหนือ 8 แห่ง จำนวน 32 คน พร้อมด้วยผู้ประสานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือจำนวน ๖ แห่ง เพื่อกำกับ ติดตาม และให้การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ วช. ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรมฯ

Print
Tags: วช.
Rate this article:
No rating

Categories