วช. จัดเสวนาวิชาการ “มาตรฐานการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน” ในงาน วช. ครบรอบ 65 ปี

วช. จัดเสวนาวิชาการ “มาตรฐานการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน” ในงาน วช. ครบรอบ 65 ปี

วันที่ 24 ตุลาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดเสวนาหัวข้อ “มาตรฐานการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน” โดยจัดขึ้นในงานเนื่องในโอกาส วช. ครบรอบ 65 ปี ภายใต้แนวคิด “65 ปี วช. บูรณาการความรู้ เชิดชูนักวิจัย สร้างอนาคตไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ณ ห้องประชุม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาคาร วช. 1

 

ดร.อัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการวิจัยและสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์ กล่าวว่า มาตรฐานการวิจัย และ จริยธรรม ในการวิจัยที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานระดับสากล โดยจริยธรรมเป็นหลักปฏิบัติที่นักวิจัยต้องยึดถือเพื่อให้การวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้อง มีความโปร่งใส และไม่ละเมิดสิทธิ์ นอกจากนี้ มาตรฐานและข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของงานวิจัยยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ

 

นางมาริยาท ตั้งมิตรเจริญ ผู้อำนวยการกองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาและยกระดับฐานข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) ให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยระบบนี้เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ทำให้การประสานงานและการวางแผนวิจัยของประเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การบริหารจัดการข้อมูลที่มีมาตรฐานเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของประเทศ

 

ดร.วิชญ์ เนียรนาทตระกูล ผู้พัฒนาระบบอักขราวิสุทธิ์ จากบริษัท อินสไปก้า จำกัด กล่าวว่า ระบบอักขราวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบความคล้ายคลึงหรือการคัดลอกเนื้อหาของเอกสารทางวิชาการ ระบบนี้ช่วยให้นักวิจัยและสถาบันการศึกษาสามารถตรวจสอบงานเขียนเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือการคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการรักษาคุณภาพและความโปร่งใสของงานวิชาการ

 

ในช่วงท้าย นางสาวกฤชศุลี ชัยเสนะบัณฑิต ผู้อำนวยการกลุ่มงานให้ความรู้และวิเคราะห์ข้อมูลมาตรฐานการวิจัยและจริยธรรมการวิจัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมรับฟังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงประเด็นการเสวนาในครั้งนี้

Print
Tags:
Rate this article:
No rating

Categories