วช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

วช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567


















สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 5 - 9 สิงหาคม 25567 ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และนางสาวสุกัญญา อามีน ผู้อำนวยการภารกิจขับเคลื่อนนโยบายโดยการวิจัย ได้เข้าร่วมในพิธีเปิด ทั้งนี้ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

การจัดโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ประจำปีงบประมาณ 2567 : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รุ่นที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 9 สิงหาคม 25567 จำนวน 5 วัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วม
การฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ที่มีการบูรณาการระหว่างสาขาและตอบโจทย์การท้าทายของสังคม เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตลอดจนเป็นการบูรณาการการดำเนินการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างเครือข่ายนักวิจัยจากหน่วยราชการ องค์กรด้านการวิจัยต่าง ๆ ให้เข้มแข็งและยั่งยืน
ต่อมา เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567 นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการฝึกอบรมฯ และรองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมแสดงความยินดีและมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ
รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ สีดาคำ และ ดร.จินตนาภา โสภณ โดยมี ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้กล่าวรายงานความสำเร็จของโครงการ จำนวนผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ และผ่านเกณฑ์ของการฝึกอบรมได้รับวุฒิบัตรครั้งนี้ จำนวน 59 คน โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ (ลูกไก่) มีการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติตามแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2566 – 2570 โดยมีโครงการวิจัยที่พัฒนาจากการฝึกอบรม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่
1. นวัตกรรมการสร้างสรรค์บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของชาติพันธุ์กระเหรี่ยง จังหวัดเชียงใหม่
2. การประยุกต์ใช้ระบบสมาร์ทฟาร์มในการจัดการแปลงปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
3. หนอนแมลงวันลายที่เลี้ยงด้วยกากสัปปะรด การสร้างแหล่งอาหารทดแทนสำหรับปลาสวยงาม กรณีศึกษาบ้านวังก์พง ตำบลวังพง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4. รูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับพลเมืองดิจิทัลเพื่อรองรับผลกระทบของ AI ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาจังหวัดยะลา
5. การพัฒนากลยุทธ์เสริมสร้างทักษะทุนชีวิตด้านอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัยในยุค BANI World
6. การสร้างมูลค่าเพิ่มจากใบตองตึงเพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุกลุ่มวิสาหกิจชุมชนป่าต้นผึ้ง ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
โดยโครงการดังกล่าวได้มีการบูรณาการหลากหลายสาขาให้มีคุณภาพ และสามารถนำการวิจัยมาประยุกต์ใช้สู่การใช้ประโยชน์ในระดับประเทศหรือพื้นที่ อีกทั้ง ยังมีการสร้างเครือข่ายของนักวิจัยเพื่อบูรณาการร่วมกันจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมจากแหล่งทุนต่าง ๆ ต่อไป
Print

Categories